มูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชน

You are here: หน้าหลัก ข่าวสารมูลนิธิเสียงธรรมฯ แบบฟอร์มถอดถอน กสทช. ฉบับเป็นทางการ >(ส่งภายใน ๓๐ กันยายนนี้)

แบบฟอร์มถอดถอน กสทช. ฉบับเป็นทางการ >(ส่งภายใน ๓๐ กันยายนนี้)

อีเมล พิมพ์ PDF

 

เนื่องจากมีประชาชนแสดงความประสงค์ต้องการถอดถอน กสทช. เป็นจำนวนมาก และขณะนี้ผู้ริเริ่มได้ยื่นเรื่องเสนอต่อประธานวุฒิสภาเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ดังนั้น หากท่านได้รับแบบฟอร์มถอดถอน ให้ระบุวันที่ในแบบได้ตั้งแต่วันที่ ๑๔ กันยายน เป็นต้นไป จากนั้นให้ส่งมาที่มูลนิธิเสียงธรรมฯ (มูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชนฯ 309/1 ม.1 บ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000)

         กำหนดการส่งแบบฟอร์มภายในวันที่ ๓๐ กันยายน

          ครั้งที่ ๑  รวบรวมส่งวันที่ ๑๐ กันยายน

          ครั้งที่ ๒  รวบรวมส่งวันที่ ๒๐ กันยายน

 

ขอเชิญร่วมแสดงเจตนาถอดถอน กสทช. ออกจากตำแหน่ง เนื่องจากมีมติเห็นชอบใน "ประกาศหลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการกระจายเสียง" ที่มีเนื้อหาที่ลิดรอนและปิดกั้นสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ของประชาชน

และโดยที่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจำนวนมากถึง ๑๕๑,๗๖๗ รายชื่อ ส่งตัวแทนเดินทางมาร้องขอให้ทบทวน แต่ กสทช. ก็ยังดื้อรั้น ไม่ใส่ใจ ผลักดันประกาศฉบับนี้ให้มีผลบังคับใช้ในที่สุด หาก กสทช. ชุดนี้ยังอยู่ก็จะบังคับให้วิทยุที่ทำประโยชน์เพื่อสังคมมายาวนานต้องลดกำลังส่งลงไปมาก อาทิเช่น เครือข่ายวิทยุเสียงธรรมฯ เผยแผ่ธรรมะพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่นยาวนานเกือบ ๑๐ ปี กระจายเสียงธรรมะเข้าปกป้องชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ให้มั่นคงปลอดภัย มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ต่อสังคมหลายด้าน เช่น

-          สละประโยชน์ตนเพื่ออุ้มชาติด้วยการบริจาคทองคำเข้าคลังหลวงมากถึง ๑๓ ตัน บำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ทั่วประเทศ เช่น สงเคราะห์โรงพยาบาล โรงเรียน หน่วยราชการ สถานสงเคราะห์ ผู้ประสบภัยต่างๆ จำนวนมาก สงเคราะห์สัตว์หลายประเภท

-     ด้านศาสนา ส่งเสริมพระศาสนาด้วยการกระจายเสียงธรรมะภาคปฏิบัติ อบรมพระเณรให้อยู่ในธรรมวินัยแท้ ให้ความรู้ข้อวัตรปฏิบัติปฏิปทาเหมือนพระในครั้งพุทธกาล

-           ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์มิให้ถูกละเมิด

-         จะเห็นได้ว่า คุณอเนกอนันต์ที่เครือข่ายวิทยุเสียงธรรมมีต่อสังคมนั้น มากมายเหลือคณานับ หากรวมถึงวิทยุที่มุ่งทำประโยชน์อื่นๆ ด้วยแล้ว ชาติและประชาชนย่อมมีแต่ความเจริญก้าวหน้า

อย่างไรก็ดี ประกาศฉบับนี้แทนที่จะเป็นมหาคุณต่อชาติต่อประชาชนด้วยการส่งเสริมวิทยุที่ดีทั้งหลาย กลับตรงกันข้าม การออกประกาศฉบับนี้ของ กสทช. ส่งผลกระทบกระเทือนอย่างหนักต่อวิทยุที่ดีทั้งหลาย และกระทบต่อประชาชนผู้รับฟังจำนวนมาก  ดังนั้น กสทช. จึงกลายมาเป็นภัยต่อวิทยุที่ดี และเป็นภัยต่อการรับฟังของประชาชนเสียเอง

เครือข่ายวิทยุเสียงธรรมจึงขอเชิญชวนวิทยุที่ทำประโยชน์เพื่อสังคมทั้งหลาย และเชิญชวนประชาชนผู้รับฟังวิทยุเหล่านี้ เข้าลงลายมือชื่อถอดถอน กสทช. ให้พ้นจากตำแหน่งไป ทั้งนี้เพื่อปกป้องคุ้มครองสถานีวิทยุที่ทำประโยชน์ทั้งหลาย ให้เป็นคลื่นหลักเพื่อพัฒนาคน พัฒนาชาติ เพื่อความมั่นคงของชาติให้ดำรงคงอยู่และเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงสืบไป

 

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มหนังสือแสดงเจตนาถอดถอน กสทช. ออกจากตำแหน่ง(ฉบับเป็นทางการ)

 

 

         (ส่งกลับ มูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชนฯ 309/1 ม.1 บ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000)

 

 

หนังสือแสดงเจตนาถอดถอน กสทช. ออกจากตำแหน่ง

 

ด้วยปรากฏข้อเท็จจริงว่า  พันเอก นที ศุกลรัตน์ กับพวก ซึ่งปฎิบัติหน้าที่ในฐานะ กสทช. จงใจฝ่าฝืนความคิดเห็นของประชาชนจำนวนมาก ออกประกาศหลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ซึ่งนอกจากจะไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ประการสำคัญที่ส่งผลกระทบที่สุดก็คือ  กสทช. ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่คำนึงถึงประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขซึ่งอาจไม่มีในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ แต่รัฐธรรมนูญก็ยังให้ความคุ้มครองไว้ปรากฏอยู่ในมาตรา ๗ จึงถือเป็นความสำคัญจำเป็นที่ กสทช. ต้องนำมาพิจารณาด้วยเพื่อมิให้การจัดสรรคลื่นความถี่ซึ่งเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องกลายเป็นต้นเหตุแห่งการบ่อนทำลายอธิปไตยของชาติเสียเอง และยังส่งผลกระทบร้ายแรงต่อความมั่นคงของชาติ อันได้แก่ สถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ให้ง่อนแง่นคลอนแคลนและจะสูญสิ้นไปในที่สุด

การที่ กสทช. เป็นองค์กรของรัฐได้ค่าตอบแทนจากภาษีอากรของประชาชนยิ่งสมควรต้องตระหนักถึงความจำเป็นในหลักการสำคัญนี้ และต้องนำมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการจัดสรรคลื่นความถี่อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่การหาเป็นเช่นนั้นไม่ แม้ประชาชนได้แสดงเจตนาคัดค้าน แจ้งเตือน พร้อมเสนอทางออก หลายครั้ง หลายวาระ โดยเฉพาะในวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๕  ประชาชนจำนวนมากพร้อมรายชื่อผู้คัดค้าน ๑๕๑,๗๖๗ ราย ใช้เวลารวบรวมเพียง ๙ วัน ได้เสียสละเวลาเดินทางไปแจ้งเตือน กสทช. เนื่องจากมีการประชุมในวันดังกล่าวเพื่อพิจารณาร่างประกาศฉบับดังกล่าว หวังเตือนให้รับรู้ว่า การปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. ในการประชุมวันดังกล่าว จะเป็นมหาภัยร้ายแรงต่อความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หวังให้ กสทช. ได้นำกลับไปทบทวนให้รอบคอบ อย่างไรก็ตาม กสทช. ยังคงดื้อรั้นและจงใจฝ่าฝืนต่อประชามติของประชาชนอย่างไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ซึ่งควรได้รับสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านศาสนา การศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่น   นอกจากนี้ ยังเป็นการรอนสิทธิหรือเสียประโยชน์อันควรมีควรได้ เพราะเหตุที่นับถือศาสนา หรือปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ Hตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญของปวงชนชาวไทยทั้งประเทศซึ่งถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องได้รับการส่งเสริมและให้ความคุ้มครอง

ในเมื่อ กสทช. ไม่นำหลักเกณฑ์สำคัญนี้มาพิจารณาและยังลิดรอนมาตรฐานเทคนิคเพื่อปิดกั้นการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต่อการดำรงอธิปไตยของชาติและประชาชนให้สูญสิ้นไปเช่นนี้ และยังเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ประกอบการอีกกลุ่มหนึ่งแบบเลือกปฏิบัติโดย กสทช. ไม่มีการควบคุมกำกับดูแลและไม่มีความพยายามจะกำหนดขอบเขตให้ชัดเจนอย่างเสมอภาคให้ปรากฏต่อสาธารณชน ผู้ประกอบการกลุ่มนี้จึงมีหลักเกณฑ์ที่ได้เปรียบกว่า มีมาตรฐานเทคนิคที่เหนือกว่าอย่างไร้ขอบเขต ทั้งที่เนื้อหารายการมีสาระประโยชน์เพียงเล็กน้อย เกือบทั้งหมดส่งเสริมแต่ความบันเทิงฟุ้งเฟ้อ ซึ่งไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ  

การปฏิบัติงานของ กสทช. เช่นนี้ นอกจากจะไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ จนเป็นเหตุให้ต้องดำเนินการถอดถอนตามมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.  ๒๕๕๓ แล้ว ยังเป็นการจงใจปฏิบัติหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหลายมาตราอีกด้วย ซึ่งพฤติการณ์ดังกล่าวจำต้องได้รับการตรวจสอบตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เพื่อนำไปสู่การถอดถอน พันเอก นที ศุกลรัตน์ กับพวก ซึ่งปฎิบัติหน้าที่ในฐานะ กสทช. ออกจากตำแหน่ง ข้าพเจ้าจึงขอลงลายมือชื่อดังนี้

(เอกสารแนบท้าย แบบ ถ.ต. ๒)                            

 

แบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าสองหมื่นคน
เข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง

ชื่อและชื่อสกุล

 

 

เลขประจำตัวประชาชน

 

อายุ

 

 

ที่อยู่

เลขที่.......................ตรอก / ซอย..............................................หมู่.............

ถนน...............................................ตำบล / แขวง ......................................

อำเภอ / เขต...........................................จังหวัด ........................................

รหัสไปรษณีย์....................................................

  

          ข้าพเจ้าขอรับรองว่า  ข้อความที่ปรากฏข้างต้นเป็นความจริงทุกประการ

                                                    ลงชื่อ..............................................................ผู้เข้าชื่อ

                                                        (...............................................................)

                                                   วัน/เดือน/ปี  ที่ลงลายมือชื่อ......................................

 

หมายเหตุ   :   ข้าพเจ้าได้แนบเอกสารและรับรองสำเนามากับแบบ  ถ.ต. ๒  ดังนี้

                        £   ๑.  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน  หรือบัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ 
                                    หรือบัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการที่มีรูปถ่ายสามารถแสดงตนได้

                        £   ๒.  หลักฐานอื่น ๆ เช่น  สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ  หรือชื่อสกุล

 

 

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มหนังสือแสดงเจตนาถอดถอน กสทช. ออกจากตำแหน่ง(ฉบับเป็นทางการ)

 

         (ส่งกลับ มูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชนฯ 309/1 ม.1 บ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000)

         หมายเหตุ     เนื่องจากมีประชาชนแสดงความประสงค์อยากถอดถอน กสทช. เป็นจำนวนมาก แต่ขณะนี้ผู้ริเริ่มอยู่ระหว่างการรวบรวมเอกสาร และจะเข้ายื่นต่อวุฒิสภาในเร็ววันนี้ ดังนั้น หากท่านได้รับแบบฟอร์มถอดถอนแล้ว เมื่อเซ็นต์ชื่อลงนามถอดถอนแล้ว ให้ลงวันที่ 20 กันยายน เป็นต้นไป