มูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชน

You are here: หน้าหลัก ข่าวสารมูลนิธิเสียงธรรมฯ การเสนอแก้ไขกม.วิทยุคมนาคม ๒๔๙๘ ต่อฝ่ายนิติบัญญัติ ล่าสุดได้ยื่นหนังสือขอเสียงสนับสนุนจากทุกพรรคแล้ว

การเสนอแก้ไขกม.วิทยุคมนาคม ๒๔๙๘ ต่อฝ่ายนิติบัญญัติ ล่าสุดได้ยื่นหนังสือขอเสียงสนับสนุนจากทุกพรรคแล้ว

อีเมล พิมพ์ PDF

 ข่าวล่าสุด  ==>  เมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๖ ประชาชนชาวไทยผู้เห็นคุณค่าการเผยแผ่ธรรมะผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียงนำโดย ศ.ดร.รัตนา ศิริพานิช ได้ส่งหนังสือขอความอนุเคราะห์สนับสนุนไปยังหัวหน้าพรรคการเมืองครบถ้วนทุกพรรค เพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในแต่ละพรรคออกเสียงสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ... ฉบับดังกล่าว อันจะส่งผลให้เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงและการก่อตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงระบบอนาล็อคได้รับใบอนุญาตในทันที ซึ่งนอกจากจะสมเจตนารมณ์องค์หลวงตาที่เมตตาแสดงธรรมโปรดโปรยความชุ่มเย็นกระจายเสียงไปทั่วประเทศไทยแล้ว ยังส่งผลให้บรรดาสถานีวิทยุกระจายเสียงต่างๆ ทั่วประเทศที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๓ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๕ ซึ่งเคยได้รับสิทธิทดลองออกอากาศจาก กทช. หรือได้ยื่นเอกสารแจ้งความประสงค์ขอประกอบกิจการแล้ว จากนี้ไปจะมีสิทธิอย่างเสมอภาคกับผู้ประกอบการรายเดิม(คลื่นหลัก) และยังเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเกี่ยวกับเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงและการก่อตั้งสถานีวิทยุกระจายโดยอัตโนมัติในทันทีที่ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวได้รับเสียงสนับสนุนจากฝ่ายนิติบัญญัติอีกด้วย

 

---------------------------

 

     เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๒.๓๐ น. ศ.ดร.รัตนา ศริพานิช ประธานที่ปรึกษามูลนิธิวิทยุเสียงธรรมเพื่­อประชาชน พร้อมคณะ เข้ายื่นรายชื่อจำนวน ๑๘,๔๑๕ รายชื่อ เพื่อเสนอแก้ไขร่างกฏหมายวิทยุคมนาคม พศ.๒๔๙๘ ต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภาแลประธานสภาผู้แทนราษฏร

                                                        คลิกชมวิดีโอ

 

                                                               ********************

 

ประธานรัฐสภา รับรายชื่อประชาชนขอเสนอแก้ไข พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม

วันที่โพสต์: 28 มีนาคม 2556 เวลา 16:02 น.

นาย สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา รับรายชื่อประชาชนกว่า 18,400 รายชื่อ เพื่อขอแก้ไข พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 จาก ศาสตราจารย์ ดร.รัตนา ศิริพานิช ผู้แทนประชาชน พร้อมคณะ เนื่องจาก พ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นกฎหมายเก่าที่ล้าสมัย ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและกฎหมายฉบับอื่นที่ใช้ในปัจจุบัน ทำให้มีการเลือกปฏิบัติไม่เสมอภาค และยังทำให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐใช้อ้างเป็นเหตุในการเลือกปฏิบัติไม่เสมอภาค รวมถึงให้สิทธิพิเศษและผูกขาดกิจการวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มไว้กับหน่วย งานราชการอย่างไม่เป็นธรรม นอกจากนี้ยังใช้นโยบายกีดกันและลิดรอนสิทธิผู้ประกอบการรายใหม่ไม่ให้มี โอกาสได้เข้ามาในระบบ โดยจงใจไม่ออกใบอนุญาตเครื่องส่งวิทยุและการก่อตั้งสถานีวิทยุแก่ผู้ประกอบ การวิทยุรายใหม่ 7,000 สถานี ทั้งที่ได้รับอนุญาตให้ออกอากาศต่อเนื่องมาเกือบ ปีแล้ว ดังนั้นเพื่อเป็นการควบคุมให้ กสทช. ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดด้วยความเสมอภาคคุ้มครองและส่งเสริม ผู้ประกอบการรายใหม่ได้นำเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงเข้าสู่ระเบียบหลัก เกณฑ์ด้วยมาตรฐานเช่นเดียวกับผู้ประกอบการรายเดิม เพื่อป้องกันไม่ให้ กสทช.ฟ้องร้องคดีโดยใช้เครื่องส่งกระจายเสียงดังกล่าวมาเป็นเครื่องมือในการ กล่าวโทษและดำเนินการไม่เป็นธรรมอีกต่อไป

         ด้านประธานรัฐสภา กล่าวว่า ตนขอชื่นชมประชาชนที่ให้ความใส่ใจปัญหาบ้านเมืองในการมีส่วนร่วมในการลงชื่อ เสนอกฎหมาย ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในระบอบประชาธิปไตย โดยขั้นตอนหลังจากนี้จะดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องรายชื่อประชาชน หากเรียบร้อยก็จะดำเนินการบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมต่อไป

อรุณี ตันศักดิ์ดา / ข่าว

มันทนา ศรีเพ็ญประภา / เรียบเรียง

http://www.radioparliament.net/parliament/viewNews.php?nId=579#.UVUGVobY3kM

 

วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556 เวลา 14:10 น.  ข่าวสดออนไลน์

มูลนิธิวิทยุเสียงธรรมฯ บุกรัฐสภายื่นแก้ไขกฎหมายวิทยุคมนาคม

วันที่ 28 มี.ค. ที่รัฐสภา นางรัตนา ศิริพานิช ประธานที่ปรึกษามูลนิธิวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน ซึ่งมีสถานีวิทยุทั่วประเทศ 218 สถานี ตัวแทนผู้ประกอบการกิจการวิทยุกระจายเสียง ผู้ฟังเสียงธรรมะ พร้อมคณะเข้ายื่นรายชื่อประชาชน 18,415 รายชื่อ เพื่อเสนอแก้ไข พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 ต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากเห็นว่าเป็นกฎหมายที่ล้าสมัย ไม่สอดคล้องรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่นในปัจจุบัน มีการเลือกปฏิบัติ และให้สิทธิพิเศษผูกขาดกิจการวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม ไว้กับหน่วยงานราชการอย่างไม่มีขอบเขต นอกจากนี้ยังกีดกันผู้ประกอบการรายใหม่ไม่ให้มีโอกาสเข้ามาในระบบ ขณะผู้ประกอบการรายเดิมที่เป็นภาครัฐที่ประกอบการก่อนพ.ร.บ.องค์กรจัดสรร คลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2543 (กสทช.) กลับได้รับความคุ้มครองสิทธิประโยชน์ต่างๆเป็นกรณีพิเศษจากกฎหมายว่าด้วย วิทยุสื่อสาร 

 

 นอกจากกฎหมายดังกล่าว สาเหตุอีกส่วนหนึ่งมาจากการเลือกปฏิบัติของ กสทช. ที่ใช้นโยบายกีดกัน ริดรอนสิทธิผู้ประกอบการายใหม่ และยังใช้เป็นเหตุกลั่นแกล้งเข้าตรวจจับ และดำเนินคดีกับผู้ประกอบการรายใหม่ ไม่เว้นแม้แต่ผู้ที่ตั้งใจบำเพ็ญเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง ถือว่ามีเจตนาปิดกั้นไม่ให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการสื่อสารมวล ชนสาธารณะอย่างแท้จริง ขัดต่อการกระทำ ม.47 ของรัฐธรรมนูญ

 

 ด้านนายสมศักดิ์ กล่าวว่า ตามขั้นตอนจะต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายชื่อทั้งหมด โดยใช้เวลาประมาณ เดือน หากครบถ้วนถูกต้องจะบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระสภาเพื่อพิจารณาต่อไป

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMk5EUTFNalkyTXc9PQ==&subcatid=

 

 

ประธานสภารับรายชื่อ เสนอให้ กสทช.แก้ไข พรบ.วิทยุคมนาคม พร้อมชื่นชมเป็นการเสนอการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองโดยสงบ

 

วันที่ข่าว : 28 มีนาคม 2556

ประธาน สภารับรายชื่อ เสนอให้ กสทช.แก้ไขพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พร้อมชื่นชมเป็นการเสนอการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองโดยสงบ ตามระบอบประชาธิปไตย

ศาสตราจารย์ ดร.รัตนา ศิริพานิช ตัวแทนประชาชน 18,415 รายชื่อ พร้อมคณะกว่า 20 คน เข้ายื่นรายชื่อ ยื่นเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 ต่อ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฏร เนื่องจากเห็นว่ากฏหมายดังกล่าวล้าสมัย ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและกฏหมายอื่นที่ใช้ในปัจจุบัน โดยเสนอไม่ให้ กสทช.เลือกปฎิบัติระหว่างผู้ประกอบการวิทยุรายเดิมกับรายใหม่ในทุกกรณี และไม่ให้ กสทช. กีดกันการขึ้นทะเบียนเครื่องส่งวิทยุของรายใหม่ โดยนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภา กล่าวว่า จะรับข้อเสนอทั้งหมดเข้าสู่กระบวนการตามขั้นตอนตามรัฐธรรมนูญ พร้อมตรวจสอบความถูกต้องของรายชื่อผู้ร้องเรียนทั้งหมด ขณะเดียวกันขอชื่นชมการกระทำดังกล่าว ในการเสนอแก้ปัญหาบ้านเมืองโดยสงบ และตามกระบวนการประชาธิปไตย

ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : นฤกร จินดา / สวท. นฤกร จินดา / สวท.
Rewriter : ศศิธร ภู่จีนาพันธ์ / สวท. ศศิธร ภู่จีนาพันธ์ / สวท.
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : 
http://thainews.prd.go.

http://thainews.prd.go.th/centerweb/News/NewsDetail?NT01_NewsID=WNPOL5603280020023

 

มูลนิธิเสียงธรรมฯ ยื่นขอแก้ พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม

By สำนักข่าวไทย TNA News | 28 มี.ค. 2556 16:46 | 30 views | View Comment

รัฐสภา 29 มี.ค.- นางรัตนา ศิริพานิช ประธานมูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชน และคณะ นำรายชื่อ 18,415 รายชื่อ ยื่นต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอให้แก้ไข พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 เนื่องจากเห็นว่าเป็นกฎหมายเก่าที่ล้าสมัย และยังขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายปัจจุบัน ไม่มีความเสมอภาค เป็นการผูกขาดกิจการวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มไว้กับหน่วยงานราชการ อย่างไม่มีขอบเขตเหตุผลที่เป็นธรรม ทั้งยังกีดกันผู้ประกอบการรายใหม่ไม่ให้มีโอกาสได้เข้าในระบบ ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น ดังนั้น ขอให้มีการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว

ขณะที่ นายสมศักดิ์ กล่าวว่า จะตรวจสอบความถูกต้องของรายชื่อก่อนดำเนินตามขั้นตอนต่อไป.-สำนักข่าวไทย

http://www.mcot.net/site/content?id=51541178150ba0856100026a#.UVUGnobY3kM

 

                                                             *************************************

 

คำกล่าวของตัวแทนประชาชนในการยื่นหนังสือ เพื่อขอแก้ไข พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ต่อ ประธานรัฐสภา

ดิฉัน ศาสตราจารย์ ดร.รัตนา ศิริพานิช พร้อมด้วยคณะ เป็นผู้แทนประชาชนจำนวน ๑๘๔๑๐ รายชื่อที่เข้าชื่อกันเพื่อเสนอแก้ไขกฎหมายวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ ซึ่งมีความล้าสมัย ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นที่ใช้ในปัจจุบัน และยังทำให้ กสทชซึ่งเป็นองค์กรของรัฐใช้อ้างเป็นเหตุในการเลือกปฏิบัติปล่อยให้ผู้ประกอบการวิทยุรายเดิมฝ่าฝืนมาตรฐาน ITU ได้ ในขณะที่กลับรีบเร่งจริงจังในการดำเนินคดีเข้าจับกุมคุมขังผู้ประกอบกิจการวิทยุรายใหม่อย่างโหดร้ายไม่เหมาะสม จนเป็นเรื่องร้องเรียนถึงคณะกรรมาธิการการป้องกันและปรามปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร ในชุดที่ท่านพลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ เป็นประธาน ฯ มาแล้ว นอกจากนี้ กสทช.ยังจงใจฝ่าฝืนกฎหมายที่บัญญัติให้ กสทชต้องส่งเสริมวิทยุที่ทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยไม่มีโฆษณาหากำไร

นอกจากนี้ ในขณะที่มีปัญหาคลื่นวิทยุรบกวนคลื่นวิทยุการบินทั้งจากผู้ประกอบการรายเดิมและรายใหม่ แต่ กสทช.กลับเลือกปฏิบัติแจ้งความดำเนินคดีอาญาต่อพระสงฆ์องค์คเจ้าตลอดถึงคฤหัสถ์ผู้ทำหน้าที่แทนสงฆ์ อาทิเช่น การแจ้งความดำเนินคดีต่อพระอาจารย์สนอง โพธิ์สุวรรณ เจ้าอาวาสวัดสังฆทาน ซึ่งเป็นที่เคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก แต่ท่านได้มรณภาพไปแล้ว สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงมีคำสั่งไม่ฟ้อง การกระทำของ กสทชยังความคับแค้นใจให้แก่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายที่ กสทช.เลือกปฏิบัติเช่นนี้ นอกจากนี้ ยังเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า การรบกวนคลื่นวิทยุการบินมาจากทั้งจากผู้ประกอบการรายเดิมและรายใหม่ ไม่ได้เกิดจากกำลังส่งที่สูงหรือต่ำ แต่เกิดจากปัญหามาตรฐานทั้งระบบ มิใช่เพียงแต่ตัวเครื่องเท่านั้น ยังรวมถึงการเชื่อมต่อสายสัญญาณ การตั้งเบย์ในเสาอากาศเดียวกันที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งหากกสทช.มีความจริงใจในการป้องกันปัญหาคลื่นวิทยุรบกวนวิทยุการบิน กสทช.ควรจะส่งเสริมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการวิทยุ ให้สามารถจัดระบบเครื่องส่งอุปกรณ์การเชื่อมต่อให้ได้มาตรฐาน ซึ่งข้อเสนอเหล่านี้ ประชาชนได้เสนอต่อกสทช.มานานแล้ว แต่ กสทช.ไม่สนใจปฏิบัติ ที่สำคัญ กสทช.จงใจไม่ออกใบอนุญาตเครื่องส่งวิทยุและการก่อตั้งสถานีวิทยุแก่ผู้ประกอบการวิทยุรายใหม่ 7,000 สถานี ทั้งๆ ที่อนุญาตให้ออกอากาศได้ต่อเนื่องมาราว ปีแล้ว เพื่อจะได้ลุแก่อำนาจใช้กฎหมายเข้ารังแกไม่เว้นแม้พระสงฆ์องคเจ้าในพระพุทธศาสนา ประหนึ่งว่า กสทช.ตั้งใจบ่อนทำลายสถาบันหลักซึ่งเป็นหัวใจของชาติให้ถึงแก่ความวิบัติฉิบหายให้จงได้โดยแท้ ไม่สะทกสะท้านยำเกรงแม้จะทราบดีว่าตนเองกระทำการสวนทางกับนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา

ดังนั้น ประชาชนทั้งหลาย ทั้งผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงทั้งหลาย และผู้ฟังเสียงธรรมะจากวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน วิทยุวัดสังฆทาน วิทยุพุทธมณฑล ตลอดจนผู้รักในสถาบันหลักของชาติ จึงได้รวบรวมรายชื่อเพื่อขอแก้ไขกฎหมายวิทยุคมนาคม และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านประธานรัฐสภาจะได้โปรดกรุณาเป็นที่พึ่งของประชาชน ด้วยการบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมในโอกาสแรกที่เป็นไปได้

จึงขอขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูงล่วงหน้ามาในโอกาสนี้ด้วยค่ะ

 

                                                                 *************************************

เอกสารในการยื่นเสนอต่อประธานรัฐสภา

 

หลักการและเหตุผล

 

          โดยที่มีเป็นความจำเป็นเร่งด่วนสมควรกำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงที่ใช้สำหรับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง เพื่อประโยชน์ในการควบคุมให้การใช้คลื่นความถี่ปราศจากการรบกวนต่อกิจการวิทยุทางการบินเพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน ลดการรบกวนซึ่งกันและกัน และเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์จากการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม และมีผู้ประกอบการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มรายใหม่จำนวนมากอาศัยอำนาจโดยชอบตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.๒๕๔๓ ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงเพื่อประโยชน์สาธารณะที่ไม่แสวงหากำไรทางธุรกิจ หรือเพื่อการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม ต่างได้รับความเดือดร้อนและผลกระทบรุนแรงจากการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยวิทยุสื่อสารที่ล้าสมัยผูกขาดอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดกับรัฐเนื่องจากตราไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ซึ่งไม่รองรับการประกอบการ และไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมและการพัฒนาทางเทคโนโลยีวิทยุคมนาคมในปัจจุบัน และโดยที่พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ มีหลักการเหตุผลและเจตนารมณ์ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเนื่องจากเป็นการเลือกปฏิบัติไม่เสมอภาค เป็นการให้สิทธิพิเศษและผูกขาดกิจการวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มไว้กับหน่วยงานราชการอย่างไม่มีขอบเขตเหตุผลที่เป็นธรรม บทบัญญัติในกฎหมายดังกล่าวนอกจากจะกีดกันผู้ประกอบการรายใหม่ไม่ให้มีโอกาสได้เข้ามาในระบบแล้ว ยังล่อแหลมต่ออันตรายติดบ่วงกับดักของกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมดังกล่าวกลายเป็นผู้ต้องโทษคดีความที่มีความผิดร้ายแรงทั้งอาญาและแพ่งแม้จะมีเจตนาที่ดีงามเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะต่อส่วนร่วมต่อสถาบันหลักของชาติไม่มีผลประโยชน์ใดๆ เพื่อตนเองก็ไม่มียกเว้น กฎหมายดังกล่าวยังไม่โอบอุ้มคุ้มครองมีแต่มุ่งทำร้ายพลเมืองดีและทำลายผู้ประกอบการที่ดีให้กลายเป็นนักโทษผู้มีความผิดอุกฉกรรจ์ ในขณะที่ผู้ประกอบการรายเดิมซึ่งเป็นภาครัฐที่ประกอบการก่อนพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.๒๕๔๓ กลับได้รับความคุ้มครองสิทธิประโยชน์ต่างๆ เป็นกรณีพิเศษจากกฎหมายว่าด้วยวิทยุสื่อสาร ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำจากการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว ซึ่งขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมักเป็นสาเหตุให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในสังคมแผ่กระจายไปทั่วราชอาณาจักรได้ นอกจากบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ จะเป็นต้นเหตุหลักที่สำคัญข้อหนึ่งแล้ว สาเหตุสำคัญอีกส่วนหนึ่งประชาชนเห็นว่ามาจากการเลือกปฏิบัติของ กสทช. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตที่ใช้นโยบายกีดกันและลิดรอนสิทธิผู้ประกอบการรายใหม่ และยังใช้เหตุนี้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งเข้าตรวจจับและดำเนินคดีกับผู้ประกอบการรายใหม่ ไม่เว้นแม้ในรายที่ดีที่ตั้งใจบำเพ็ญเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริงตลอดมา ให้กลายเป็นผู้มีความผิดทางกฎหมายมีคดีความติดตัว  ทั้งที่มีสาเหตุดังกล่าวมาจากการเลือกปฏิบัติและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ด้วยนโยบายของ กสทช. ที่มีเจตนาปิดกั้นมิให้ภาคประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการสื่อมวลชนสาธารณะอย่างแท้จริงแม้จะทราบดีว่า เป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติตามมาตรา ๔๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก็ตาม

        ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยสาธารณะในการใช้เครื่องส่งกระจายเสียง และเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่การพิจารณาขอรับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างแท้จริง เป็นการควบคุมให้ กสทช. ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดด้วยความเสมอภาค คุ้มครองและส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหม่ได้นำเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงเข้าสู่ระเบียบ หลักเกณฑ์ ด้วยมาตรฐานเช่นเดียวกับเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงของผู้ประกอบการรายเดิมที่เป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือนิติบุคคล ที่ กสทช. หรือกฎกระทรวงกำหนดไว้ ซึ่งจะยังผลให้เครื่องส่งกระจายเสียงของผู้ประกอบการรายใหม่ที่ประกอบการก่อนมี กสทช. ได้รับการจดทะเบียน เป็นการป้องกันมิให้ กสทช. ฟ้องร้องคดีโดยใช้เครื่องส่งกระจายเสียงดังกล่าวมาเป็นเครื่องมือในการกล่าวโทษแบบเลื่อนลอยได้อีกต่อไป หากไม่มีกฎหมายควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. ในกรณีดังกล่าว ย่อมส่งผลกระทบร้ายแรงต่อต่อภาพพจน์และชื่อเสียงของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อกิจการทางการบินซึ่งเป็นความปลอดภัยสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงที่ดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะโดยไม่แสวงหากำไรในทางธุรกิจให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกับผู้ประกอบกิจการรายเดิม อันจะเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในการรับฟัง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

 

ร่าง

พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม (ฉบับที่...)

พ.ศ. ...

------------------------


มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม (ฉบับที่...) พ.ศ. …."

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ตัดสองวรรคท้ายในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘

และให้เพิ่มบทนิยามคำว่า “กสทช.”  “กิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม “ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงในช่วงเปลี่ยนผ่าน” “ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงภาครัฐ” “ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงภาคชุมชน” “ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงภาคเอกชน” และ "เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต" ในท้ายวรรคมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม  พ.ศ. ๒๔๙๘

          “กสทช.” หมายความว่า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

 “กิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม” หมายความว่า กิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มที่ใช้คลื่นความถี่ในย่านที่ กสทช.กำหนดไว้ในแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ ตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ แผนแม่บทกิจการกระจายเสียง หรือแผนความถี่วิทยุ

“ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงในช่วงเปลี่ยนผ่าน” หมายความว่า ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐที่ประกอบกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ มีผลใช้บังคับ ซึ่งมีกำหนดเวลาจะต้องคืนคลื่นความถี่ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

“ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงภาครัฐ” หมายความว่า ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มที่ได้แจ้งความประสงค์ประกอบกิจการกระจายเสียงประเภทบริการสาธารณะต่อ กสทช.แล้ว”

“ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงภาคชุมชน” หมายความว่า ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มที่ได้แจ้งความประสงค์ประกอบกิจการกระจายเสียงประเภทบริการชุมชนต่อ กสทช.แล้ว”

“ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงภาคเอกชน” หมายความว่า ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มที่ได้แจ้งความประสงค์ประกอบกิจการกระจายเสียงประเภทบริการทางธุรกิจต่อ กสทช.แล้ว”

"เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต" หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่ง กสทช. แต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ 

มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคท้ายในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.

๒๔๙๘

“ทั้งนี้ผู้ได้รับการยกเว้นตามวรรคแรกข้อ (๑) และ (๒) ไม่รวมถึงผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงในช่วงเปลี่ยนผ่าน ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงภาครัฐ ภาคชุมชน และภาคเอกชน”

           มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

         “มาตรา ๖ ห้ามมิให้ผู้ใด ทำ มี ใช้ นำเข้า นำออก หรือค้าซึ่ง เครื่องวิทยุคมนาคม เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต

ในกรณีที่เห็นสมควร กสทช. มีอำนาจออกประกาศกำหนดให้ เครื่องวิทยุคมนาคมบางลักษณะหรือเครื่องวิทยุคมนาคมที่ใช้ในกิจการบางประเภท ได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งทั้งหมดหรือเฉพาะแต่บางกรณีได้

        ผู้ได้รับการยกเว้นตามวรรคสอง ไม่รวมถึงผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงในช่วงเปลี่ยนผ่าน ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงภาครัฐ ภาคชุมชน และภาคเอกชน”

           มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

”มาตรา ๗ ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำหน้าที่พนักงานวิทยุคมนาคมในตำแหน่งที่กำหนดในกฎกระทรวงหรือในประกาศ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต”

 มาตรา ๗ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

”มาตรา ๑๐ ให้ กสทช. มีอำนาจออกใบอนุญาตพิเศษให้บุคคลตั้งสถานีวิทยุการบินเพื่อประโยชน์แห่งความปลอดภัยของการเดินอากาศพลเรือนโดยเฉพาะได้ ในการออกใบอนุญาตพิเศษนี้ กสทช. จะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้

ผู้รับอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ กสทช. กำหนด”

         มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

”มาตรา ๑๑ ห้ามมิให้ผู้ใดตั้งสถานีวิทยุคมนาคม เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต

สถานีวิทยุคมนาคมต้องใช้ความถี่คลื่นให้ถูกต้องตามข้อบังคับว่าด้วยวิทยุคมนาคมตามภาคผนวกต่อท้ายอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยโทรคมนาคม

เพื่อให้การเป็นไปตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้ กสทช. มีอำนาจกำหนดเงื่อนไขการตั้งสถานีวิทยุคมนาคมให้เกิดความเสมอภาคในผู้ประกอบการทุกกลุ่มทุกประเภท ไม่เว้นแม้แต่ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงในช่วงเปลี่ยนผ่าน และให้ กสทช. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายมีอำนาจควบคุมและกำหนดการใช้ความถี่คลื่นของสถานีวิทยุคมนาคมต่างๆ

ในกรณีที่เห็นสมควร กสทช. มีอำนาจออกประกาศกำหนดให้สถานีวิทยุคมนาคมที่ใช้ในกิจการบางประเภทได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง

        ความในวรรคสามและวรรคสี่ไม่ให้บังคับใช้กับผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงในช่วงเปลี่ยนผ่าน ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงภาครัฐ ภาคชุมชน และภาคเอกชน”

       มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา๑๑ทวิ แห่งพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

”มาตรา ๑๑ ทวิ ให้กสทช. มีอำนาจประกาศกำหนดให้ผู้ใช้ความถี่คลื่นเพื่อกิจการใดหรือในลักษณะใดต้องเสียค่าตอบแทนในการใช้ความถี่คลื่นนั้นให้แก่รัฐบาลได้ตามอัตราที่เห็นสมควร
ประกาศตามวรรคหนึ่งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา”

         มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

”มาตรา ๑๒ ห้ามมิให้สถานีวิทยุคมนาคมดำเนินบริการวิทยุคมนาคม เพื่อประโยชน์อื่นใด นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตหรือนอกเหนือจากราชการของกระทรวง ทบวง กรมหรือกิจการของนิติบุคคลตาม มาตรา 

        เงื่อนไขตามวรรคแรกที่ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงในช่วงเปลี่ยนผ่านได้ระบุไว้ในใบอนุญาตหรือระบุไว้นอกเหนือจากราชการของกระทรวง ทบวง กรม หรือกิจการของนิติบุคคลตามมาตรา ๕ ต้องไม่ก่อให้เกิดสิทธิพิเศษใดๆ ที่ได้เปรียบกว่าผู้ประกอบการภาครัฐ ภาคชุมชน และภาคเอกชน เงื่อนไขที่ระบุไว้ต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคไม่เลือกปฏิบัติ”

         มาตรา ๑๑ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

”มาตรา ๑๓ ห้ามมิให้ยานพาหนะใด ๆ ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม นอกจากจะใช้ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง หรือได้รับอนุญาตจาก กสทช. เป็นพิเศษชั่วครั้งคราว”

มาตรา ๑๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔  แห่งพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

        “มาตรา ๑๔ เพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเพื่อป้องกันราชอาณาจักร กสทช. มีอำนาจออกคำสั่งเฉพาะกาลให้พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจยึดไว้เอาไปใช้ ห้ามการใช้หรือห้ามการยักย้ายซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม หรือส่วนใด ๆ แห่งเครื่องวิทยุคมนาคมในระหว่างเวลาและภายในเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในคำสั่งนั้น

         ทั้งนี้ต้องไม่กระทบกับผู้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมที่ไม่แสวงหากำไรในทางธุรกิจและเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่น”

มาตรา ๑๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองและวรรคสามในมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘

       “ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงในช่วงเปลี่ยนผ่านจะอ้างเหตุแห่งการรบกวนต่อเจ้าพนักงานตามวรรคหนึ่งไม่ได้ จนกว่าจะมีความเสมอภาคในการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมเช่นเดียวกันกับประกอบกิจการกระจายเสียงภาครัฐ ภาคชุมชน ภาคเอกชน

       ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มซึ่งเป็นภาครัฐ ภาคชุมชน ภาคเอกชน จะอ้างเหตุแห่งการรบกวนตามวรรคแรก ซึ่งมีสาเหตุแห่งการรบกวนมาจากผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงในช่วงเปลี่ยนผ่านก็ได้ โดยเจ้าพนักงานต้องดำเนินการตามวรรคหนึ่งทันที เว้นแต่ตรวจสอบแล้วพบว่า การใช้เครื่องวิทยุคมนาคมของผู้ประกอบการรายนั้น ไม่ก่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ เป็นไปด้วยความเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ”  

มาตรา ๑๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘

        “หากมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงในช่วงเปลี่ยนผ่าน ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงภาครัฐ ภาคชุมชน ภาคเอกชน กระทำความผิดเช่นว่านั้นตามวรรคสอง ให้เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายตามความในวรรคหนึ่งดำเนินการไต่สวนหรือจัดให้มีการไต่สวนตามกฎหมายเสียก่อน” 
มาตรา ๑๕ ให้ยกเลิกความในวรรคสองในมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘และเพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองในมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘

        “ผู้รับใบอนุญาตอาจอุทธรณ์ไปยัง กสทช. ภายในสามสิบวัน นับแต่วันถูกเพิกถอนหรือพักใช้ คำชี้ขาดของ กสทช. ให้เป็นที่สุด” 
        มาตรา ๑๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
”มาตรา ๒๒ เมื่อมีคำพิพากษาว่า ผู้ใดกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ศาลจะสั่งริบสิ่งที่ใช้ในการกระทำความผิดนั้น เพื่อให้ไว้ใช้ในราชการ สำนักงาน กสทช. ด้วยก็ได้”

           มาตรา ๑๗ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
          “มาตรา ๒๙ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ กสทช. มีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตและออกประกาศ
(1) วางระเบียบการขอและการออกใบอนุญาต
(2) กำหนดวิธีการเพิกถอนและพักใช้ใบอนุญาต
(3) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้
(4) กำหนดคุณลักษณะของเครื่องวิทยุคมนาคม และคุณวุฒิสำหรับพนักงานวิทยุคมนาคม
(5) กำหนดกิจการอื่นใดเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงหรือประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้”

         มาตรา ๑๘ ให้เพิ่มมาตรา ๓๐  มาตรา ๓๑  มาตรา ๓๒  มาตรา ๓๓  มาตรา ๓๔  และมาตรา ๓๕  ในบทเฉพาะกาล และให้ใช้ความต่อไปนี้ในบทเฉพาะกาลมาตรา ๓๐  มาตรา ๓๑  มาตรา ๓๒  มาตรา ๓๓  มาตรา ๓๔  และมาตรา ๓๕ 

“บทเฉพาะกาล

 

       มาตรา ๓๐ ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงภาครัฐ หรือภาคชุมชน หรือภาคเอกชน ที่ได้รับสิทธิทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราว หรือที่ได้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) หรือ ที่ได้ยื่นคำขอทดลองประกอบกิจการตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง (ฉบับลงวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๕) ภายในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ แล้ว ให้เป็นผู้มีสิทธิในการ มี ใช้ นำเข้า นำออก ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมโดยถือว่าเป็นการยื่นคำขอรับอนุญาตและได้รับอนุญาตแล้วตามมาตรา ๖ และให้มีสิทธิในการตั้งสถานีวิทยุคมนาคมได้ต่อไปโดยถือว่าเป็นการยื่นคำขอรับอนุญาตและได้รับอนุญาตแล้วตามมาตรา ๑๑ ทั้งนี้ให้มีผลนับแต่วันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคมฉบับนี้ใช้บังคับ

          ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงภาครัฐ หรือภาคชุมชน หรือภาคเอกชน ที่ได้รับสิทธิทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราว หรือที่ได้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) โดยได้ยื่นคำขออนุญาตในการมี ใช้ นำเข้า นำออก ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม และการตั้งสถานีวิทยุคมนาคมต่อเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตแล้ว นอกจากได้รับสิทธิตามวรรคแรกแล้วให้ถือว่าสิทธิดังกล่าวมีผลย้อนหลังไปก่อนหน้าวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลใช้บังคับ และไม่ให้ถือเป็นความผิดตามมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ และไม่ให้ถือเป็นเหตุแห่งความผิดทั้งโทษทางปกครองและโทษทางอาญาตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑

อายุของใบอนุญาต เงื่อนไขและสิทธิพิเศษต่างๆ การตรวจสอบคุณภาพ รวมถึงมาตรฐานการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมของผู้ได้รับใบอนุญาตตามวรรคแรกให้ใช้หลักเกณฑ์เช่นเดียวกันกับผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงในช่วงเปลี่ยนผ่าน เพื่อไม่ก่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ เป็นไปด้วยความเสมอภาคไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งหากหลักเกณฑ์ที่ใช้เป็นการทั่วไปกับผู้ประกอบการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มทุกกลุ่มทุกประเภทดังกล่าวยังก่อให้คลื่นความถี่เกิดการรบกวนกันและกันไม่เป็นประโยชน์ต่อการรับฟังของประชาชนโดยรวม ให้ กสทช. เร่งปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์ดังกล่าวโดยเร็ว และบังคับใช้แก่ผู้ประกอบการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มทุกกลุ่มทุกประเภทอย่างเสมอภาค

มาตรา ๓๑ พระราชบัญญัติ กฎกระทรวง หรือประกาศ กสทช.ใด ที่ให้สิทธิแก่ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงในช่วงเปลี่ยนผ่าน ในกรณีใด ให้ปรับใช้กรณีนั้นแก่ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงภาครัฐ ภาคชุมชน และภาคเอกชน ด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามหลักการแห่งความเสมอภาคไม่ก่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบและไม่เลือกปฏิบัติ จนกว่าการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่กระบวนการพิจารณาอนุญาตประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มด้วยหลักเกณฑ์เดียวกันจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ไม่มีสิทธิพิเศษหรือได้รับการยกเว้นแม้รายหนึ่งรายใด

มาตรา ๓๒ เพื่อป้องกันมิให้เกิดข้อขัดแย้งระหว่างผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม และลดการรบกวนในการรับฟังเนื้อหารายการต่างๆ ของประชาชนทั่วไปให้ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ให้ กสทช. ออกประกาศหลักเกณฑ์การใช้เครื่องวิทยุคมนาคมแก่ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงในช่วงเปลี่ยนผ่าน ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงภาครัฐ ภาคชุมชน และภาคเอกชน  ในทันที โดยบังคับใช้มาตรฐานทางเทคนิคอย่างเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติในทุกกรณี ทั้งนี้ กสทช. ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ในระหว่างการดำเนินการ ผู้ประกอบการรายใดใช้เครื่องวิทยุคมนาคมภายใต้หลักเกณฑ์ที่มีสิทธิพิเศษเหนือกว่าคู่กรณี จะอ้างเหตุแห่งการรบกวนการประกอบการของตนไม่ได้ ผู้ประกอบการที่ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันและเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปซึ่งมีความเสมอภาคเท่านั้นจึงจะสามารถอ้างเหตุแห่งการรบกวนต่อเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตให้ดำเนินการตามกฎหมายต่อคู่กรณีที่ก่อเหตุรบกวนได้

ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มรายใดที่ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์การใช้เครื่องวิทยุคมนาคมที่มีความเสมอภาค ให้เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตมีหนังสือตักเตือน ๒ ครั้ง เมื่อครบ ๑๕ วันนับจากวันที่ได้รับหนังสือตักเตือนฉบับแรก ให้ กสทช. สั่งระงับการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมของผู้ประกอบการรายนั้นในทันที หากมีเจตนาฝ่าฝืนเป็นครั้งที่ ๒ ให้ยกเลิกใบอนุญาตเกี่ยวกับเครื่องวิทยุคมนาคมรายนั้นในทุกประเภทของการอนุญาต

มาตรา ๓๓ เพื่อให้ผลของกฎหมายบังคับใช้เป็นการทั่วไปมีความเสมอภาคในผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มทุกกลุ่มทุกประเภทอย่างแท้จริง จึงกำหนดให้ กสทช. ยกเลิกเงื่อนไขต่างๆ ที่ไม่เสมอภาคเป็นการเลือกปฏิบัติและทำให้เกิดความได้เปรียบของผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงในช่วงเปลี่ยนผ่าน โดยไม่ว่าเงื่อนไขนั้นจะระบุไว้ในใบอนุญาต สัญญา สัมปทาน หรือไม่ว่าจะระบุไว้ในหรือนอกเหนือจากราชการของกระทรวง ทบวง กรม หรือกิจการของนิติบุคคลตามมาตรา ๕ ก็ตาม รวมถึงเงื่อนไขใดๆ ที่ได้ระบุไว้ในที่อื่น โดย กสทช. ต้องออกประกาศยกเลิกเงื่อนไขเหล่านั้นให้แล้วเสร็จภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลใช้บังคับ

หาก กสทช. ละเว้นการออกประกาศตามวรรคแรกย่อมถือเป็นความผิดทางกฎหมายและให้ถือว่าเงื่อนไขที่ไม่เสมอภาคเป็นการเลือกปฏิบัติเหล่านั้นเป็นโมฆะไม่มีผลผูกพันใดๆ

มาตรา ๓๔ ให้ กสทช. เร่งตรวจสอบผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงในช่วงเปลี่ยนผ่านทุกรายเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของใบอนุญาต สัญญา สัมปทาน ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ให้แล้วเสร็จภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ไม่ว่า กสทช. กำลังดำเนินการตรวจสอบอยู่แล้วหรือไม่ก็ตาม และต้องประกาศให้สาธารณชนได้รับทราบในทันที

หาก กสทช. ละเว้นการดำเนินการตามวรรคแรก แก่ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงในช่วงเปลี่ยนผ่านรายใด ให้ถือว่าใบอนุญาต สัญญา สัมปทาน ของผู้ประกอบการรายนั้นไม่สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในทางกฎหมายได้เพราะเหตุแห่งการกระทำผิดของ กสทช. ซึ่งย่อมถือเป็นโทษความผิดทางกฎหมายซึ่งผู้ประกอบการรายนั้นสามารถดำเนินคดีทั้งทางอาญาและทางแพ่งโดยการเรียกร้องค่าเสียหายได้ และให้ถือว่าความผิดดังกล่าวเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลของ กสทช. ที่จงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หากกระบวนการยุติธรรมตัดสินแล้วว่ามีความผิด มิให้นำทรัพย์สินของทางราชการมาใช้เพื่อชดเชยการกระทำผิดดังกล่าว

มาตรา ๓๕ ให้สำนักงาน กสทช. เป็นผู้ไม่มีสิทธิ์ใน การ มี ใช้ นำเข้า นำออก ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มตามมาตรา ๖ และเป็นผู้ไม่มีสิทธิในการตั้งสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มตามมาตรา ๑๑ ทั้งนี้ให้มีผลนับแต่วันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคมฉบับนี้ใช้บังคับ

ให้ กสทช. ตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของใบอนุญาต สัญญา หรือสัมปทาน ที่บุคคลได้ทำไว้กับสำนักงาน กสทช. ให้แล้วเสร็จและประกาศต่อสาธารณชนภายใน ๔๕ วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมฉบับนี้ใช้บังคับ หากชอบด้วยกฎหมาย ให้ถือว่าบุคคลผู้นั้นเป็นผู้มีสิทธิในการ มี ใช้ นำเข้า นำออก ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มตามมาตรา ๖ และเป็นผู้มีสิทธิในการตั้งสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มตามมาตรา ๑๑ จนกว่าใบอนุญาตดังกล่าวจะสิ้นอายุ

หากการตรวจสอบตามวรรคสองไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ถือว่าบุคคลผู้นั้นเป็นผู้ไม่มีสิทธิในการ มี ใช้ นำเข้า นำออก ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมตามมาตรา ๖ และเป็นผู้ไม่มีสิทธิในการตั้งสถานีวิทยุคมนาคมตามมาตรา ๑๑ แต่หากยังประสงค์จะประกอบกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มต่อไป ให้แจ้งความประสงค์ขอประกอบกิจการภาครัฐ ภาคชุมชน หรือภาคเอกชน ได้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ทราบผลการตรวจสอบ”

 

                                               **************************************************

 

                                              ตารางเปรียบเทียบแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม (ฉบับที่..) พ.ศ...

 

พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘

แก้ไขเพิ่มเติม

เหตุผล

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

.....

.....

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

.....

กสทช.” หมายความว่า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

 

เนื่องจากบรรดาอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรี อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข และเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคมเป็นอำนาจหน้าที่ของ กสทช. แล้ว

 

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

.....

.....

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

.....

"เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต" หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่ง กสทช. แต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้

 

เนื่องจากบรรดาอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรี และเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคมเป็นอำนาจหน้าที่ของ กสทช. แล้ว

 

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

.....

.....

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

.....

 “กิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม” หมายความว่า กิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มที่ใช้คลื่นความถี่ในย่านที่ กสทช.กำหนดไว้ในแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ ตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ แผนแม่บทกิจการกระจายเสียง หรือแผนความถี่วิทยุ

เพื่อกำหนดขอบเขตการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติให้อยู่ภายในกรอบของกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มเท่านั้น ไม่รวมถึงกิจการคลื่นความถี่ประเภทอื่น

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

.....

.....

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

.....

“ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงในช่วงเปลี่ยนผ่าน” หมายความว่า ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐที่ประกอบกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ มีผลใช้บังคับซึ่งมีกำหนดเวลาจะต้องคืนคลื่นความถี่ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

เนื่องจากผู้ประกอบการรายเดิมซึ่งเป็นกระทรวง ทบวง กรม และนิติบุคคลที่ประกอบกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มอยู่ก่อนกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงฯ พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นผู้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ อย่างเสรีจากกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคม จึงมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องหลายมาตราที่ต้องนำมาพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติม จึงจำเป็นต้องกำหนดนิยามให้เกิดความชัดเจนและง่ายต่อการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องในกฎหมาย

 

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

.....

.....

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

.....

 “ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงภาครัฐ” หมายความว่า ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มที่ได้แจ้งความประสงค์ประกอบกิจการกระจายเสียงประเภทบริการสาธารณะต่อ กสทช.แล้ว

 

 

 

 

เป็นการกำหนดคำนิยามให้เกิดความชัดเจนเนื่องจากเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ซึ่งเกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ และ พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นผู้ได้รับผลกระทบหลายประการจากกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคม

 

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

.....

.....

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

.....

 “ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงภาคชุมชนหมายความว่า ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มที่ได้แจ้งความประสงค์ประกอบกิจการกระจายเสียงประเภทบริการชุมชนต่อ กสทช.แล้ว

เป็นการกำหนดคำนิยามให้เกิดความชัดเจนเนื่องจากเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ซึ่งเกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ และ พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นผู้ได้รับผลกระทบหลายประการจากกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคม

 

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

.....

.....

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

.....

 “ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงภาคเอกชนหมายความว่า ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มที่ได้แจ้งความประสงค์ประกอบกิจการกระจายเสียงประเภทบริการทางธุรกิจต่อ กสทช.แล้ว

 

เป็นการกำหนดคำนิยามให้เกิดความชัดเจนเนื่องจากเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ซึ่งเกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ และ พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นผู้ได้รับผลกระทบหลายประการจากกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคม

 

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

.....

"เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต" หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่ง รัฐมนตรีแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้

 

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

.....

"เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต" หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่ง กสทช. แต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ 

เนื่องจากบรรดาอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรี อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข และเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคมเป็นอำนาจหน้าที่ของ กสทช. แล้ว

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

.....

"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

.....

.....

เพื่อให้สอดคล้องกับพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่บัญญัติให้ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการ

มาตรา ๕ พระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ มาตรา ๑๑ และ มาตรา ๑๒ ไม่ใช้บังคับแก่

(๑) กระทรวง ทบวง กรม

(๒) นิติบุคคลตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

มาตรา ๕ พระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ มาตรา ๑๑ และ มาตรา ๑๒ ไม่ใช้บังคับแก่

(๑) กระทรวง ทบวง กรม

(๒) นิติบุคคลตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ทั้งนี้ผู้ได้รับการยกเว้นตามวรรคแรกข้อ (๑) และ (๒) ไม่รวมถึงผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงในช่วงเปลี่ยนผ่าน ผ่าน ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงภาครัฐ ภาคชุมชน และภาคเอกชน

๑.  เพื่อให้เกิดการปฏิรูปสื่ออย่างแท้จริง โดยลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ เนื่องจากผู้ประกอบการวิทยุกระจายเสียงทุกกลุ่มทุกประเภทได้รับสิทธิในการประกอบการอย่างเท่าเทียมกัน

๒. ส่งผลดีต่อการจัดระเบียบวิทยุกระจายเสียง สังคมให้การยอมรับ

๓. แก้ปัญหาการครอบงำสื่อวิทยุกระจายเสียงที่มีอำนาจรัฐและอำนาจทุนผูกขาดมายาวนานจนลุกลามบานปลายรุนแรงถึงขั้นเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

๔. เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่ตั้งใจบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะเพื่อสถาบันหลักของชาติอย่างแท้จริงได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน มิใช่ใช้สื่อเพียงแค่สนองความบันเทิงเท่านั้น

๕. เป็นการดำเนินการตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง

มาตรา ๖ ห้ามมิให้ผู้ใด ทำ มี ใช้ นำเข้า นำออก หรือค้าซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต

ในกรณีที่เห็นสมควรรัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดให้ เครื่องวิทยุคมนาคมบางลักษณะหรือเครื่องวิทยุคมนาคมที่ใช้ในกิจการบางประเภทได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งทั้งหมดหรือเฉพาะแต่บางกรณีได้

มาตรา ๖ ห้ามมิให้ผู้ใด ทำ มี ใช้ นำเข้า นำออก หรือค้าซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต

ในกรณีที่เห็นสมควร กสทช. มีอำนาจออกประกาศกำหนดให้ เครื่องวิทยุคมนาคมบางลักษณะหรือเครื่องวิทยุคมนาคมที่ใช้ในกิจการบางประเภทได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งทั้งหมดหรือเฉพาะแต่บางกรณีได้

ผู้ได้รับการยกเว้นตามวรรคสอง ไม่รวมถึงผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงในช่วงเปลี่ยนผ่าน ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงภาครัฐ ภาคชุมชน และภาคเอกชน

๑.  เพื่อให้เกิดการปฏิรูปสื่ออย่างแท้จริง โดยลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ เนื่องจากผู้ประกอบการวิทยุกระจายเสียงทุกกลุ่มทุกประเภทได้รับสิทธิในการประกอบการอย่างเท่าเทียมกัน

๒. ส่งผลดีต่อการจัดระเบียบวิทยุกระจายเสียง สังคมให้การยอมรับ

๓. แก้ปัญหาการครอบงำสื่อวิทยุกระจายเสียงที่มีอำนาจรัฐและอำนาจทุนผูกขาดมายาวนานจนลุกลามบานปลายรุนแรงถึงขั้นเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

๔. เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่ตั้งใจบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะเพื่อสถาบันหลักของชาติอย่างแท้จริงได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน มิใช่ใช้สื่อเพียงแค่สนองความบันเทิงเท่านั้น

๕. เป็นการดำเนินการตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง

 

 

 

 

มาตรา ๑๐ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกใบอนุญาตพิเศษให้บุคคลตั้งสถานีวิทยุการบินเพื่อประโยชน์แห่งความปลอดภัยของการเดินอากาศพลเรือนโดยเฉพาะได้ในการออกใบอนุญาตพิเศษนี้ รัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้

ผู้รับอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนด

มาตรา ๑๐ ให้กสทช. มีอำนาจออกใบอนุญาตพิเศษให้บุคคลตั้งสถานีวิทยุการบินเพื่อประโยชน์แห่งความปลอดภัยของการเดินอากาศพลเรือนโดยเฉพาะได้ในการออกใบอนุญาตพิเศษนี้ กสทช.จะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้

ผู้รับอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กสทช.กำหนด

เป็นการปรับปรุงแก้ไขข้อกฎหมายให้สอดคล้องกับกฎหมายฉบับอื่น เนื่องจากปัจจุบันเป็นอำนาจหน้าที่ของ กสทช. แล้ว

มาตรา ๑๑ ห้ามมิให้ผู้ใดตั้งสถานีวิทยุคมนาคม เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต

สถานีวิทยุคมนาคมต้องใช้ความถี่คลื่นให้ถูกต้องตามข้อบังคับว่าด้วยวิทยุคมนาคมตามภาคผนวกต่อท้ายอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยโทรคมนาคม

เพื่อให้การเป็นไปตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข มีอำนาจกำหนดเงื่อนไขการตั้งสถานีวิทยุคมนาคมและให้อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายมีอำนาจควบคุมและกำหนดการใช้ความถี่คลื่นของสถานีวิทยุคมนาคมต่างๆ

ในกรณีที่เห็นสมควรรัฐมนตรีมีอำนาจออก

มาตรา ๑๑ ห้ามมิให้ผู้ใดตั้งสถานีวิทยุคมนาคม เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต

สถานีวิทยุคมนาคมต้องใช้ความถี่คลื่นให้ถูกต้องตามข้อบังคับว่าด้วยวิทยุคมนาคมตามภาคผนวกต่อท้ายอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยโทรคมนาคม

เพื่อให้การเป็นไปตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้กสทช.มีอำนาจกำหนดเงื่อนไขการตั้งสถานีวิทยุคมนาคมและให้ กสทช.หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายมีอำนาจควบคุมและกำหนดการใช้ความถี่คลื่นของสถานีวิทยุคมนาคมต่างๆ

ในกรณีที่เห็นสมควร กสทช.มีอำนาจออกประกาศกำหนดให้สถานีวิทยุคมนาคมที่ใช้ใน

๑.  เป็นการปรับปรุงแก้ไขข้อกฎหมายให้สอดคล้องกับกฎหมายฉบับอื่น เนื่องจากปัจจุบันเป็นอำนาจหน้าที่ของ กสทช. แล้วจึงไม่มีอำนาจในการออกกฎกระทรวง

๒. เพื่อให้เกิดการปฏิรูปสื่ออย่างแท้จริง โดยลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ แก่ผู้ประกอบการวิทยุกระจายเสียงทุกกลุ่มทุกประเภทให้ได้รับสิทธิในการประกอบการอย่างเท่าเทียมกัน

๓. ส่งผลดีต่อการจัดระเบียบวิทยุกระจายเสียง สังคมให้การยอมรับ

๔. แก้ปัญหาการครอบงำสื่อวิทยุกระจายเสียงที่มีอำนาจรัฐและอำนาจทุนผูกขาดมายาวนานจนลุกลามบานปลายรุนแรงถึงขั้นเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

๕. เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่ตั้งใจบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะเพื่อสถาบันหลักของชาติ

กฎกระทรวงสถานีวิทยุคมนาคมที่ใช้ในกิจการบางประเภทได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง

กิจการบางประเภทได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง

ความในวรรคสามและวรรคสี่ไม่ให้บังคับใช้กับผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงในช่วงเปลี่ยนผ่าน ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงภาครัฐ ภาคชุมชน และภาคเอกชน

อย่างแท้จริงได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน มิใช่ใช้สื่อเพียงแค่สนองความบันเทิงเท่านั้น

       ๖. เป็นการดำเนินการตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง

มาตรา ๑๑ ทวิ ให้รัฐมนตรีอำนาจประกาศกำหนดให้ผู้ใช้ความถี่คลื่นเพื่อกิจการใดหรือในลักษณะใดต้องเสียค่าตอบแทนในการใช้ความถี่คลื่นนั้นให้แก่รัฐบาลได้ตามอัตราที่เห็นสมควร
ประกาศตามวรรคหนึ่งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๑๑ ทวิ ให้ กสทช. มีอำนาจประกาศกำหนดให้ผู้ใช้ความถี่คลื่นเพื่อกิจการใดหรือในลักษณะใดต้องเสียค่าตอบแทนในการใช้ความถี่คลื่นนั้นให้แก่รัฐบาลได้ตามอัตราที่เห็นสมควร
ประกาศตามวรรคหนึ่งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

เป็นการปรับปรุงแก้ไขข้อกฎหมายให้สอดคล้องกับกฎหมายฉบับอื่น เนื่องจากปัจจุบันเป็นอำนาจหน้าที่ของ กสทช. แล้วจึงไม่มีอำนาจในการออกกฎกระทรวง

 

มาตรา ๑๒ ห้ามมิให้สถานีวิทยุคมนาคมดำเนินบริการวิทยุคมนาคมเพื่อประโยชน์อื่นใด นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตหรือนอกเหนือจากราชการของกระทรวงทบวง กรมหรือกิจการของนิติบุคคลตามมาตรา

 

มาตรา ๑๒ ห้ามมิให้สถานีวิทยุคมนาคมดำเนินบริการวิทยุคมนาคมเพื่อประโยชน์อื่นใด นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตหรือนอกเหนือจากราชการของกระทรวงทบวง กรมหรือกิจการของนิติบุคคลตามมาตรา 

เงื่อนไขตามวรรคแรกที่ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงในช่วงเปลี่ยนผ่านได้ระบุไว้ในใบอนุญาตหรือระบุไว้นอกเหนือจากราชการของกระทรวง ทบวง กรม หรือกิจการของนิติบุคคลตามมาตรา ๕ ต้องไม่ก่อให้เกิดสิทธิพิเศษใดๆ ที่ได้เปรียบกว่าผู้ประกอบการภาครัฐ ภาคชุมชน และภาคเอกชน เงื่อนไขที่ระบุไว้ต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคไม่เลือกปฏิบัติ

๑.  เพื่อให้เกิดการปฏิรูปสื่ออย่างแท้จริง โดยลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ แก่ผู้ประกอบการวิทยุกระจายเสียงทุกกลุ่มทุกประเภทให้ได้รับสิทธิในการประกอบการอย่างเท่าเทียมกัน

๒. ส่งผลดีต่อการจัดระเบียบวิทยุกระจายเสียง สังคมให้การยอมรับ

๓. แก้ปัญหาการครอบงำสื่อวิทยุกระจายเสียงที่มีอำนาจรัฐและอำนาจทุนผูกขาดมายาวนานจนลุกลามบานปลายรุนแรงถึงขั้นเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

๔. เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่ตั้งใจบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะเพื่อสถาบันหลักของชาติอย่างแท้จริงได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน มิใช่ใช้สื่อเพียงแค่สนองความบันเทิงเท่านั้น

๕. เป็นการดำเนินการตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง

มาตรา ๑๓ ห้ามมิให้ยานพาหนะใด ๆ ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมนอกจากจะใช้ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง หรือได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีเป็นพิเศษชั่วครั้งคราว

มาตรา ๑๓ ห้ามมิให้ยานพาหนะใด ๆ ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมนอกจากจะใช้ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง หรือได้รับอนุญาตจาก กสทช.เป็นพิเศษชั่วครั้งคราว

เป็นการปรับปรุงแก้ไขข้อกฎหมายให้สอดคล้องกับกฎหมายฉบับอื่น เนื่องจากปัจจุบันเป็นอำนาจหน้าที่ของ กสทช. แล้ว

มาตรา ๑๔ เพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเพื่อป้องกัน ราชอาณาจักร รัฐมนตรีมีอำนาจออกคำสั่งเฉพาะกาลให้พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจยึดไว้เอาไปใช้ ห้ามการใช้หรือห้ามการยักย้ายซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม หรือส่วนใด ๆ แห่งเครื่องวิทยุคมนาคมในระหว่างเวลาและภายในเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในคำสั่งนั้น

มาตรา ๑๔ เพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเพื่อป้องกันราชอาณาจักร กสทช. มีอำนาจออกคำสั่งในช่วงเปลี่ยนผ่านให้พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจยึดไว้เอาไปใช้ห้ามการใช้หรือห้ามการยักย้ายซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม หรือส่วนใด ๆ แห่งเครื่องวิทยุคมนาคมในระหว่างเวลาและภายในเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในคำสั่งนั้น  

       ทั้งนี้ต้องไม่กระทบกับผู้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมที่ไม่แสวงหากำไรในทางธุรกิจและเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่น

๑.  เป็นการปรับปรุงแก้ไขข้อกฎหมายให้สอดคล้องกับกฎหมายฉบับอื่น เนื่องจากปัจจุบันเป็นอำนาจหน้าที่ของ กสทช. แล้ว

๒.  เป็นการป้องกัน กสทช. หลงอำนาจฉวยโอกาสเอาสถานการณ์บ้านเมืองที่กำลังอยู่ในขั้นวิกฤตการณ์มาเป็นข้ออ้างในการยึดการสื่อสารระบบต่างๆ และยึดอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดจนกระทบต่อการบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะของผู้ประกอบการ

 

มาตรา ๑๕ ผู้ใดกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมโดยมิได้เจตนา เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย มีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นระงับการกระทำนั้น หรือให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ใช้ในการ กระทำนั้นเสีย หรือให้ย้ายสิ่งดังกล่าวนั้นออกไปให้พ้นเขตรบกวนได้

มาตรา ๑๕ ผู้ใดกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมโดยมิได้เจตนา เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย มีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นระงับการกระทำนั้น หรือให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ใช้ในการ กระทำนั้นเสีย หรือให้ย้ายสิ่งดังกล่าวนั้นออกไปให้พ้นเขตรบกวนได้

     ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงในช่วงเปลี่ยนผ่านจะอ้างเหตุแห่งการรบกวนต่อเจ้าพนักงานตามวรรคหนึ่งไม่ได้ จนกว่าจะมีความเสมอภาคในการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมเช่นเดียวกันกับผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงภาครัฐ ภาคชุมชน ภาคเอกชน

       ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มซึ่งเป็นภาครัฐ ภาคชุมชน ภาคเอกชน จะอ้างเหตุแห่งการรบกวนตามวรรคแรก ซึ่งมีสาเหตุแห่งการรบกวนมาจากผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงในช่วงเปลี่ยนผ่านก็ได้ โดยเจ้าพนักงานต้องดำเนินการตามวรรคหนึ่งทันที เว้นแต่ตรวจสอบแล้วพบว่า การใช้เครื่องวิทยุคมนาคมของผู้ประกอบการรายนั้น ไม่ก่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ เป็นไปด้วยความเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ

 

มาตรา ๑๘ เพื่อตรวจเครื่องวิทยุคมนาคม ส่วนแห่งเครื่องวิทยุคมนาคมสถานีวิทยุคมนาคม สิ่งที่ก่อให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมหรือใบอนุญาต เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย มีอำนาจเข้าไปในอาคารสถานที่หรือยานพาหนะของบุคคลใด ๆ ได้ในเวลาอันสมควร

เมื่อปรากฏว่าผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ากระทำการเช่นว่านั้น ให้เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายตามความในวรรคหนึ่ง มีอำนาจจับกุมผู้นั้นพร้อมด้วยของกลางที่ใช้ในการกระทำความผิดเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย

 

มาตรา ๑๘ เพื่อตรวจเครื่องวิทยุคมนาคม ส่วนแห่งเครื่องวิทยุคมนาคม สถานีวิทยุคมนาคม สิ่งที่ก่อให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมหรือใบอนุญาต เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย มีอำนาจเข้าไปในอาคารสถานที่หรือยานพาหนะของบุคคลใด ๆ ได้ในเวลาอันสมควร

เมื่อปรากฏว่าผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ากระทำการเช่นว่านั้น  ให้เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายตามความในวรรคหนึ่ง มีอำนาจจับกุมผู้นั้นพร้อมด้วยของกลางที่ใช้ในการกระทำความผิดเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย

        หากมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงในช่วงเปลี่ยนผ่าน ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชนกระทำความผิดเช่นว่านั้นตามวรรคสอง ให้เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายตามความในวรรคหนึ่งดำเนินการไต่สวนหรือจัดให้มีการไต่สวนตามกฎหมายเสียก่อน

เพื่อป้องกันมิให้ กสทช. ใช้อำนาจหน้าที่อย่างไม่เป็นธรรมโดยการเข้าจับกุมแบบไม่มีขอบเขตเหตุผลแก่ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มเพียงเพราะมีเหตุอันสงสัยเท่านั้นก็สามารถเข้าจับกุมและยึดของกลางได้ในทันที ซึ่งอุปกรณ์สำหรับกิจการกระจายเสียงในระบบนี้ กสทช.สามารถดำเนินการตรวจสอบการรบกวนได้ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยซึ่งมีอยู่ประจำสำนักงานเขต กสทช. แล้ว และ กสทช. ก็ยังมีอำนาจขอเข้าตรวจค้นในสถานที่มีเหตุอันควรสงสัยได้อีกด้วยเพื่อพิสูจน์ว่ามีการรบกวนอยู่จริง ดังนั้นการใช้มาตรการถึงขั้นเข้าจับกุมและยึดของกลางเพียงเพราะเหตุแห่งความสงสัยเท่านั้นจึงเป็นการใช้อำนาจโดยไม่สมควรและเกินกว่าเหตุ จึงจำเป็นต้องมีบทบัญญัติดังกล่าวเพื่อควบคุมให้ กสทช.ใช้อำนาจภายในขอบเขตเหตุผลผ่านกระบวนการยุติธรรมตามลำดับขั้นตอน

 

มาตรา ๑๙ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตฝ่าฝืนต่อบทแห่งพระราชบัญญัตินี้กฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตมีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือพักใช้ใบอนุญาตของผู้นั้นเสียได้

ผู้รับใบอนุญาตอาจอุทธรณ์ไปยังอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขภายในสามสิบวัน นับแต่วันถูกเพิกถอนหรือพักใช้ คำชี้ขาดของอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขให้เป็นที่สุด

 

มาตรา ๑๙ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตฝ่าฝืนต่อบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตมีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือพักใช้ใบอนุญาตของผู้นั้นเสียได้

ผู้รับใบอนุญาตอาจอุทธรณ์ไปยัง กสทช.ภายในสามสิบวัน นับแต่วันถูกเพิกถอนหรือพักใช้ คำชี้ขาดของ กสทช.ให้เป็นที่สุด

 

เป็นการปรับปรุงแก้ไขข้อกฎหมายให้สอดคล้องกับกฎหมายฉบับอื่นที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากปัจจุบันเป็นอำนาจหน้าที่ของ กสทช. แล้ว

มาตรา ๒๒ เมื่อมีคำพิพากษาว่า ผู้ใดกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้ศาลจะสั่งริบสิ่งที่ใช้ในการกระทำความผิดนั้น เพื่อให้ไว้ใช้ในราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขด้วยก็ได้

มาตรา ๒๒ เมื่อมีคำพิพากษาว่า ผู้ใดกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้ศาลจะสั่งริบสิ่งที่ใช้ในการกระทำความผิดนั้น เพื่อให้ไว้ใช้ในราชการสำนักงาน กสทช. ด้วยก็ได้

เป็นการปรับปรุงแก้ไขข้อกฎหมายให้สอดคล้องกับกฎหมายฉบับอื่นที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากปัจจุบันเป็นอำนาจหน้าที่ของ กสทช. แล้ว

มาตรา ๒๙ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตและออกกฎกระทรวง

(1) วางระเบียบการขอและการออกใบอนุญาต

(2) กำหนดวิธีการเพิกถอนและพักใช้ใบอนุญาต

(3) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้

(4) กำหนดคุณลักษณะของเครื่องวิทยุคมนาคมและคุณวุฒิสำหรับพนักงานวิทยุคมนาคม

(5) กำหนดกิจการอื่นใดเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

มาตรา ๒๙ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ กสทช. มีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตและออกประกาศ

(1) วางระเบียบการขอและการออกใบอนุญาต

(2) กำหนดวิธีการเพิกถอนและพักใช้ใบอนุญาต

(3) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้

(4) กำหนดคุณลักษณะของเครื่องวิทยุคมนาคมและคุณวุฒิสำหรับพนักงานวิทยุคมนาคม

(5) กำหนดกิจการอื่นใดเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

กฎกระทรวงหรือประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

๑.  เป็นการปรับปรุงแก้ไขข้อกฎหมายให้สอดคล้องกับกฎหมายฉบับอื่นที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากปัจจุบันเป็นอำนาจหน้าที่ของ กสทช. แล้ว

๒. การกำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้เนื่องจากเครื่องวิทยุคมนาคมมีความสำคัญต่อความมั่นคงของชาติและความสงบเรียบร้อยของประชาชน หน่วยราชการของรัฐหลายหน่วยงานจำเป็นต้องใช้เพื่องานราชการ

๓.                  นายกรัฐมนตรีเป็นตำแหน่งที่มาจากประชาชนจึงต้องตระหนักหรือมีจิตสำนึกเป็นพิเศษในการกระจายสิทธิเสรีภาพและประโยชน์ต่างๆ ไปสู่ประชาชนอย่างเท่าเทียมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้สื่อที่มีเครื่องวิทยุคมนาคมเป็นอุปกรณ์หลัก

 

 

 

 

บทเฉพาะกาล

มาตรา ๓๐ ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงภาครัฐ หรือภาคชุมชน หรือภาคเอกชน ที่ได้รับสิทธิทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราว หรือที่ได้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) หรือ ที่ได้ยื่นคำขอทดลองประกอบกิจการตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง (ฉบับลงวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๕) ภายในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ แล้ว ให้เป็นผู้มีสิทธิในการ มี ใช้ นำเข้า นำออก ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมโดยถือว่าเป็นการยื่นคำขอรับอนุญาตและได้รับอนุญาตแล้วตามมาตรา ๖ และให้มีสิทธิในการตั้งสถานีวิทยุคมนาคมได้ต่อไปโดยถือว่าเป็นการยื่นคำขอรับอนุญาตและได้รับอนุญาตแล้วตามมาตรา ๑๑ ทั้งนี้ให้มีผลนับแต่วันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคมฉบับนี้ใช้บังคับ

          ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงภาครัฐ หรือภาคประชาชน หรือภาคเอกชน ที่ได้รับสิทธิทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราว หรือที่ได้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนชั่วคราว (วิทยุกระจายเสียงชุมชน) โดยได้ยื่นคำขออนุญาตในการมี ใช้ นำเข้า นำออก ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม และการตั้งสถานีวิทยุคมนาคมต่อเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตแล้ว นอกจากได้รับสิทธิตามวรรคแรกแล้วให้ถือว่าสิทธิดังกล่าวมีผลย้อนหลังไปก่อนหน้าวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลใช้บังคับ และไม่ให้ถือเป็นความผิดตามมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ และไม่ให้ถือเป็นเหตุแห่งความผิดทั้งโทษทางปกครองและโทษทางอาญาตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑

อายุของใบอนุญาต เงื่อนไขและสิทธิพิเศษต่างๆ การตรวจสอบคุณภาพ รวมถึงมาตรฐานการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมของผู้ได้รับใบอนุญาตตามวรรคแรกให้ใช้หลักเกณฑ์เช่นเดียวกันกับผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงในช่วงเปลี่ยนผ่าน เพื่อไม่ก่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ เป็นไปด้วยความเสมอภาคไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งหากหลักเกณฑ์ที่ใช้เป็นการทั่วไปกับผู้ประกอบการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มทุกกลุ่มทุกประเภทดังกล่าวยังก่อให้คลื่นความถี่เกิดการรบกวนกันและกันไม่เป็นประโยชน์ต่อการรับฟังของประชาชนโดยรวม ให้ กสทช. เร่งปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์ดังกล่าวโดยเร็ว และบังคับใช้แก่ผู้ประกอบการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มทุกกลุ่มทุกประเภทอย่างเสมอภาค

 

 

๑.  เพื่อให้เกิดการปฏิรูปสื่ออย่างแท้จริง ซึ่งต้องลดการกีดกันและลดการผูกขาดมิให้ถูกจำกัดเฉพาะวงราชการเท่านั้น ลดความเหลื่อมล้ำด้วยการคลายสิทธิพิเศษต่างๆ ลง และสร้างความเสมอภาคไม่เลือกปฏิบัติแก่ประชาชนให้สามารถเข้ามาเป็นผู้ประกอบการวิทยุกระจายเสียงได้โดยได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียมกัน

๒. ส่งผลดีต่อการจัดระเบียบวิทยุกระจายเสียงที่เป็นธรรม สังคมและประชาชนให้การยอมรับ ทำให้ความขัดแย้งต่างๆ ลดลง

๓. แก้ปัญหาการครอบงำสื่อวิทยุกระจายเสียงที่มีอำนาจรัฐและอำนาจทุนผูกขาดมายาวนานจนลุกลามบานปลายรุนแรงถึงขั้นเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

๔. เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่ตั้งใจบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะเพื่อสถาบันหลักของชาติอย่างแท้จริงได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน มิใช่ใช้สื่อเพียงแค่สนองความบันเทิงเท่านั้น

๕. เป็นการดำเนินการตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริงเป็นการตอบรับเจตนาที่บริสุทธิ์ในการเข้ามาประกอบการของประชาชนและตอบรับในความร่วมมือของประชาชนที่เข้ามาสู่ระเบียบของทางราชการด้วยการยื่นเอกสารแจ้งความประสงค์อย่างเปิดเผย จึงเป็นความเหมาะสมที่ กสทช. ในฐานะเจ้าพนักงานออกใบอนุญาตจะต้องอนุญาตเครื่องส่งวิทยุคมนาคมและการตั้งสถานีวิทยุคมนาคมให้เข้าสู่ระบบไปด้วย การดำเนินการเช่นนี้ยังเป็นผลดีต่อการเข้าตรวจสอบคุณภาพระบบเครื่องวิทยุคมนาคมให้ได้มาตรฐานที่ดี ไม่ให้มีเหตุแห่งการรบกวนได้อีกต่อไป

๖.   เพื่อให้มีหลักเกณฑ์บังคับใช้เป็นการทั่วไปแก่ผู้ประกอบการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มทุกกลุ่มทุกประเภทอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน ซึ่งหากหลักเกณฑ์ดังกล่าวยังก่อให้เกิดการรบกวนคลื่นความถี่ซึ่งกันและกันหรือไม่ได้มาตรฐาน ITU ก็ให้อำนาจ กสทช. ปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้โดยต้องใช้หลักเกณฑ์อย่างเสมอภาคไม่เลือกปฏิบัติให้ประโยชน์แก่กลุ่มหนึ่งกลุ่มใดและเลือกกีดกันลิดรอนสิทธิแก่กลุ่มหนึ่งกลุ่มใดอีก

 

 

บทเฉพาะกาล

 

มาตรา ๓๑ พระราชบัญญัติ กฎกระทรวง หรือประกาศ กสทช.ใด ที่ให้สิทธิแก่ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงในช่วงเปลี่ยนผ่าน ในกรณีใด ให้ปรับใช้กรณีนั้นแก่ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชน ด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามหลักการแห่งความเสมอภาคไม่ก่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบและไม่เลือกปฏิบัติ จนกว่าการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่กระบวนการพิจารณาอนุญาตประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มด้วยหลักเกณฑ์เดียวกันจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ไม่มีสิทธิพิเศษหรือได้รับการยกเว้นแม้รายหนึ่งรายใด

 

 

 

๑.  เพื่อให้เกิดการปฏิรูปสื่ออย่างแท้จริง ซึ่งต้องลดการกีดกันและลดการผูกขาดมิให้ถูกจำกัดเฉพาะวงราชการเท่านั้น ลดความเหลื่อมล้ำด้วยการคลายสิทธิพิเศษต่างๆ ลง และสร้างความเสมอภาคไม่เลือกปฏิบัติแก่ประชาชนให้สามารถเข้ามาเป็นผู้ประกอบการวิทยุกระจายเสียงได้โดยได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียมกัน

๒. ส่งผลดีต่อการจัดระเบียบวิทยุกระจายเสียงที่เป็นธรรม สังคมและประชาชนให้การยอมรับ ทำให้ความขัดแย้งต่างๆ ลดลง

๓. แก้ปัญหาการครอบงำสื่อวิทยุกระจายเสียงที่มีอำนาจรัฐและอำนาจทุนผูกขาดมายาวนานจนลุกลามบานปลายรุนแรงถึงขั้นเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

๔. เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่ตั้งใจบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะเพื่อสถาบันหลักของชาติอย่างแท้จริงได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน มิใช่ใช้สื่อเพียงแค่สนองความบันเทิงเท่านั้น

๕. เป็นการดำเนินการตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง

๖.  เป็นการตอบรับเจตนาที่บริสุทธิ์ในการเข้ามาประกอบการของประชาชนและตอบรับในความร่วมมือของประชาชนที่เข้ามาสู่ระเบียบของทางราชการด้วยการยื่นเอกสารแจ้งความประสงค์อย่างเปิดเผย จึงเป็นความเหมาะสมที่ กสทช. ในฐานะเจ้าพนักงานออกใบอนุญาตจะต้องอนุญาตเครื่องส่งวิทยุคมนาคมและการตั้งสถานีวิทยุคมนาคมให้เข้าสู่ระบบไปด้วย การดำเนินการเช่นนี้ยังเป็นผลดีต่อการเข้าตรวจสอบคุณภาพระบบเครื่องวิทยุคมนาคมให้ได้มาตรฐานที่ดี ไม่ให้มีเหตุแห่งการรบกวนได้อีกต่อไป

 เพื่อให้มีหลักเกณฑ์บังคับใช้เป็นการทั่วไปแก่ผู้ประกอบการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มทุกกลุ่มทุกประเภทอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน ซึ่งหากหลักเกณฑ์ดังกล่าวยังก่อให้เกิดการรบกวนคลื่นความถี่ซึ่งกันและกันหรือไม่ได้มาตรฐาน ITU ก็ให้อำนาจ กสทช. ปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้โดยต้องใช้หลักเกณฑ์อย่างเสมอภาคไม่เลือกปฏิบัติให้ประโยชน์แก่กลุ่มหนึ่งกลุ่มใดและเลือกกีดกันลิดรอนสิทธิแก่กลุ่มหนึ่งกลุ่มใดอีก

 

บทเฉพาะกาล

 

มาตรา ๓๒ เพื่อป้องกันมิให้เกิดข้อขัดแย้งระหว่างผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม และลดการรบกวนในการรับฟังเนื้อหารายการต่างๆ ของประชาชนทั่วไปให้ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ให้ กสทช. ออกประกาศหลักเกณฑ์การใช้เครื่องวิทยุคมนาคมแก่ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงในช่วงเปลี่ยนผ่าน ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชน  ในทันที โดยบังคับใช้มาตรฐานทางเทคนิคอย่างเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติในทุกกรณี ทั้งนี้ กสทช. ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ในระหว่างการดำเนินการ ผู้ประกอบการรายใดใช้เครื่องวิทยุคมนาคมภายใต้หลักเกณฑ์ที่มีสิทธิพิเศษเหนือกว่าคู่กรณี จะอ้างเหตุแห่งการรบกวนการประกอบการของตนไม่ได้ ผู้ประกอบการที่ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันและเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปซึ่งมีความเสมอภาคเท่านั้นจึงจะสามารถอ้างเหตุแห่งการรบกวนต่อเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตให้ดำเนินการตามกฎหมายต่อคู่กรณีที่ก่อเหตุรบกวนได้

ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มรายใดที่ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์การใช้เครื่องวิทยุคมนาคมที่มีความเสมอภาค ให้เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตมีหนังสือตักเตือน ๒ ครั้ง เมื่อครบ ๑๕ วันนับจากวันที่ได้รับหนังสือตักเตือนฉบับแรก ให้ กสทช. สั่งระงับการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมของผู้ประกอบการรายนั้นในทันที หากมีเจตนาฝ่าฝืนเป็นครั้งที่ ๒ ให้ยกเลิกใบอนุญาตเกี่ยวกับเครื่องวิทยุคมนาคมรายนั้นในทุกประเภทของการอนุญาต

 

 

 

เพื่อให้มีหลักเกณฑ์ที่มีความเสมอภาคและเป็นธรรม และเป็นการคุ้มครองผู้ประกอบการที่ดีที่ยินยอมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่เป็นธรรมนั้นไม่ให้ได้รับการรบกวนจากผู้ประกอบการรายอื่นที่มีเจตนาฝ่าฝืนจึงจำเป็นต้องมีบทลงโทษรองรับไว้

 

บทเฉพาะกาล

 

มาตรา ๓๓ เพื่อให้ผลของกฎหมายบังคับใช้เป็นการทั่วไปมีความเสมอภาคในผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มทุกกลุ่มทุกประเภทอย่างแท้จริง จึงกำหนดให้ กสทช. ยกเลิกเงื่อนไขต่างๆ ที่ไม่เสมอภาคเป็นการเลือกปฏิบัติและทำให้เกิดความได้เปรียบของผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงในช่วงเปลี่ยนผ่าน โดยไม่ว่าเงื่อนไขนั้นจะระบุไว้ในใบอนุญาต สัญญา สัมปทาน หรือไม่ว่าจะระบุไว้ในหรือนอกเหนือจากราชการของกระทรวง ทบวง กรม หรือกิจการของนิติบุคคลตามมาตรา ๕ ก็ตาม รวมถึงเงื่อนไขใดๆ ที่ได้ระบุไว้ในที่อื่น โดย กสทช. ต้องออกประกาศยกเลิกเงื่อนไขเหล่านั้นให้แล้วเสร็จภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลใช้บังคับ

หาก กสทช. ละเว้นการออกประกาศตามวรรคแรกย่อมถือเป็นความผิดทางกฎหมายและให้ถือว่าเงื่อนไขที่ไม่เสมอภาคเป็นการเลือกปฏิบัติเหล่านั้นเป็นโมฆะไม่มีผลผูกพันใดๆ

 

 

เพื่อให้กฎหมายมีผลบังคับใช้เป็นการทั่วไปมีความเสมอภาคในผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มทุกกลุ่มทุกประเภทอย่างแท้จริง และเพื่อมิให้ กสทช. ใช้อำนาจเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้ประกอบการบางรายบางกลุ่มบางประเภทหรือใช้อำนาจเพื่อกีดกั้นผู้ประกอบการบางรายบางกลุ่มบางประเภท ซึ่งเป็นการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม ไม่มีความเสมอภาคและเป็นการเลือกปฏิบัติ จึงจำเป็นต้องมีบทลงโทษ กสทช. รองรับไว้

 

บทเฉพาะกาล

 

มาตรา ๓๔ ให้ กสทช. เร่งตรวจสอบผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงในช่วงเปลี่ยนผ่านทุกรายเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของใบอนุญาต สัญญา สัมปทาน ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ให้แล้วเสร็จภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ไม่ว่า กสทช. กำลังดำเนินการตรวจสอบอยู่แล้วหรือไม่ก็ตาม และต้องประกาศให้สาธารณชนได้รับทราบในทันที

หาก กสทช. ละเว้นการดำเนินการตามวรรคแรก แก่ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงในช่วงเปลี่ยนผ่านรายใด ให้ถือว่าใบอนุญาต สัญญา สัมปทาน ของผู้ประกอบการรายนั้นไม่สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในทางกฎหมายได้เพราะเหตุแห่งการกระทำผิดของ กสทช. ซึ่งย่อมถือเป็นโทษความผิดทางกฎหมายซึ่งผู้ประกอบการรายนั้นสามารถดำเนินคดีทั้งทางอาญาและทางแพ่งโดยการเรียกร้องค่าเสียหายได้ และให้ถือว่าความผิดดังกล่าวเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลของ กสทช. ที่จงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หากกระบวนการยุติธรรมตัดสินแล้วว่ามีความผิด มิให้นำทรัพย์สินของทางราชการมาใช้เพื่อชดเชยการกระทำผิดดังกล่าว

 

 

เพื่อให้กฎหมายมีผลบังคับใช้เป็นการทั่วไปมีความเสมอภาคในผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มทุกกลุ่มทุกประเภทอย่างแท้จริง และเพื่อมิให้ กสทช. ใช้อำนาจเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้ประกอบการบางรายบางกลุ่มบางประเภทหรือใช้อำนาจเพื่อกีดกั้นผู้ประกอบการบางรายบางกลุ่มบางประเภท ซึ่งเป็นการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม ไม่มีความเสมอภาคและเป็นการเลือกปฏิบัติ จึงจำเป็นต้องมีบทลงโทษ กสทช. รองรับไว้

 

บทเฉพาะกาล

 

มาตรา ๓๕ ให้สำนักงาน กสทช. เป็นผู้ไม่มีสิทธิ์ใน การ มี ใช้ นำเข้า นำออก ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มตามมาตรา ๖ และเป็นผู้ไม่มีสิทธิในการตั้งสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มตามมาตรา ๑๑ ทั้งนี้ให้มีผลนับแต่วันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคมฉบับนี้ใช้บังคับ

ให้ กสทช. ตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของใบอนุญาต สัญญา หรือสัมปทาน ที่บุคคลได้ทำไว้กับสำนักงาน กสทช. ให้แล้วเสร็จและประกาศต่อสาธารณชนภายใน ๔๕ วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมฉบับนี้ใช้บังคับ หากชอบด้วยกฎหมาย ให้ถือว่าบุคคลผู้นั้นเป็นผู้มีสิทธิ์ในการ มี ใช้ นำเข้า นำออก ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มตามมาตรา ๖ และเป็นผู้มีสิทธิในการตั้งสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มตามมาตรา ๑๑ จนกว่าใบอนุญาตดังกล่าวจะสิ้นอายุ

     หากการตรวจสอบตามวรรคสองไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ถือว่าบุคคลผู้นั้นเป็นผู้ไม่มีสิทธิ์ในการ มี ใช้ นำเข้า นำออก ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมตามมาตรา ๖ และเป็นผู้ไม่มีสิทธิในการตั้งสถานีวิทยุคมนาคมตามมาตรา ๑๑ แต่หากยังประสงค์จะประกอบกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มต่อไป ให้แจ้งความประสงค์ขอประกอบกิจการภาครัฐ ภาคประชาชน หรือภาคเอกชน ได้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ทราบผลการตรวจสอบ

 

 

๑.      เพื่อมิให้การดำเนินการของ กสทช. มีผลประโยชน์ทับซ้อนจากการถือครองคลื่นในระบบเอฟเอ็มมากถึง ๖ คลื่น เนื่องจากเป็นองค์กรอิสระซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการจัดสรรและกำกับดูแลคลื่นความถี่ จึงไม่เป็นการสมควรอย่างยิ่งที่องค์กรอิสระดังกล่าวจะกลายเป็นผู้ถือครองคลื่นความถี่เสียเองในฐานะของความผู้ประกอบการ

๒.     เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิการประกอบการของบุคคลผู้ที่ได้รับการตรวจสอบแล้วว่าชอบด้วยกฎหมายซึ่งเคยได้รับการอนุญาต สัญญา หรือสัมปทานคลื่นความถี่จากกรมไปรษณีย์โทรเลข และในระยะต่อมาได้โอนสิทธิหน้าที่ต่างๆ ไปเป็นสำนักงาน กสทช.

๓.     เพื่อคุ้มครองสิทธิการประกอบการของบุคคลผู้ได้รับการตรวจสอบการอนุญาต สัญญา หรือสัมปทาน แล้วพบว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย  แต่ กสทช. ได้ออกประกาศตามผนวก ฉ แห่งประกาศหลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. ๒๕๕๕ ไปแล้วว่าเป็นผู้ได้รับอนุญาต

๔.     เพื่อเร่งรัดให้เกิดการปฏิรูปสื่ออย่างแท้จริง ไม่ให้ผูกขาดคลื่นความถี่ไว้กับทางราชการเท่านั้น แต่ให้เกิดการกระจายประโยชน์ไปสู่ภาคส่วนอื่นๆ ซึ่งเป็นเจตนารมณ์แท้จริงของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

๕.     เพื่อให้สำนักงาน กสทช. เป็นองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่อย่างสง่างามมีมาตรฐานทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ

 

 

 

ดาวน์โหลด ร่างพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม

ดาวน์โหลด ตารางเปรียบเทียบแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม