มูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชน

You are here: หน้าหลัก ข่าวสารมูลนิธิเสียงธรรมฯ มูลนิธิฯ เข้าแจ้งเหตุที่ สภอ.อุดรฯ กรณีบุคคลใน กสทช. ส่งสัญญาณจะบุกจับสถานีวิทยุ ๕ ข้อ

มูลนิธิฯ เข้าแจ้งเหตุที่ สภอ.อุดรฯ กรณีบุคคลใน กสทช. ส่งสัญญาณจะบุกจับสถานีวิทยุ ๕ ข้อ

อีเมล พิมพ์ PDF

 

 

 

==================================================

เอกสารแนบ

========================================

เอกสารแนบหมายเลข ๑

 

 

 

========================================

เอกสารแนบหมายเลข ๒

 

 

 

 

========================================

เอกสารแนบหมายเลข ๓

 

 

 

การยื่นแบบคําขออนุญาตประกอบกิจการ การใช้คลื่นความถี่และเครื่องวิทยุคมนาคมในการประกอบกิจการกระจายเสียง

ตามมาตรา ๒๗(๔)๒๗(๖)๔๑๔๙๕๑ และ ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่

และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

 

ที่ กสทช. ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๑.๓๐ น.

 

 

 

 

 

========================================

เอกสารแนบหมายเลข ๔

 

หนังสือรับรองสถานีวิทยุในสังกัดมูลนิธิเสียงธรรมฯ อยู่ในกระบวนการออกใบอนุญาตฯ

 

วันที่ ๒๙ ม.ค. ๒๕๕๓ ตัวแทนมูลนิธิเสียงธรรมฯ ประชุมร่วมกับ จนท. กทช.

เพื่อยื่นแบบ ฉก.๑ และ ๒ พร้อมเงินค่าธรรมเนียมตามระเบียบ

เป็นการขอรับใบอนุญาตให้ทำ มี ใช้ นำเข้า เครื่องวิทยุคมนาคม และตั้งสถานีวิทยุคมนาคม

ตามบทเฉพาะกาลของประกาศ กทช.

 

 

วันที่ ๒๙ ม.ค. ๒๕๕๓ ตัวแทนมูลนิธิเสียงธรรมฯ ประชุมร่วมกับ เจ้าหน้าที่ กทช.

เพื่อยื่นแบบ ฉก.๑ และ ๒ พร้อมเงินค่าธรรมเนียมตามระเบียบ

เป็นการขอรับใบอนุญาตให้ทำ มี ใช้ นำเข้า เครื่องวิทยุคมนาคม และตั้งสถานีวิทยุคมนาคม

ตามบทเฉพาะกาลของประกาศ กทช.

========================================

เอกสารแนบหมายเลข ๕

 

 

 

 

========================================

เอกสารแนบหมายเลข ๖

 

 

ข้อความในการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ

กรณี กสทช. เตะถ่วงสถานภาพ “วิทยุชุมชนเชิงประเด็น”

แก่มูลนิธิเสียงธรรมฯ จนเป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนเสียหาย

(แจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ สถานีตำรวจ สภ.เมืองอุดรธานี

ในลำดับที่ ๒ หมายเลข ๐๖๓ เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๐.๓๐ น. )

ข้าพเจ้าในนามผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานมูลนิธิเสียงธรรมฯ ประสงค์จะลงบันทึกประจำวันต่อเจ้าพนักงานตำรวจไว้เป็นหลักฐานตามข้อเท็จจริงต่อไปนี้

๑. เครือข่ายวิทยุเสียงธรรมฯ ได้ก่อตั้งขึ้นและใช้คลื่นความถี่กระจายเสียงที่ยังว่างอยู่ ของแต่ละพื้นที่ในทุกภูมิภาคของประเทศ เกือบทั้งหมดเกิดขึ้นก่อนมี กทช. (ปฏิบัติหน้าที่ กสช. / รักษาการ กสทช.) และก่อนมี กสทช. ซึ่งการก่อตั้งดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ และ ๒๕๕๐ และตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. ๒๕๔๓ และ ๒๕๕๓ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงฯ พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

๒. เมื่อมี กทช. (ปฏิบัติหน้าที่ กสช.) มูลนิธิเสียงธรรมฯ ก็ยอมรับและปฏิบัติตามกฎหมายโดยการเข้าแจ้งความประสงค์เป็นวิทยุภาคประชาชนในระดับชาติและได้ยื่นแบบคำขออนุญาตบริการชุมชนที่ครอบคลุมความหมายแบบกว้างในเชิงประเด็น (Issue-based Community) ด้วยมาตรฐานทางเทคนิคประเภท ๓.๓.๔ วิทยุชุมชนที่มีลักษณะเฉพาะในเชิงประเด็นซึ่งไม่มีการจำกัดขอบเขตรัศมีการกระจายเสียง โดย กทช. ก็ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวและยังออกใบอนุญาตทดลองออกอากาศแก่มูลนิธิเสียงธรรมฯ อย่างต่อเนื่องเป็นลำดับมาปรากฏตามมติ กทช. ครั้งที่ ๔๓/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๒ ให้ดำเนินการออกหลักเกณฑ์วิทยุภาคประชาชนที่ครอบคลุมชุมชนในเชิงประเด็น โดยได้จัดสรรงบประมาณหลายสิบล้านบาทในการดำเนินการต่อไปนี้จนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ทุกกรณี

๒.๑ จัดทำ Focus Group กำหนดหลักเกณฑ์วิทยุชุมชนในเชิงประเด็น เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ มีข้อสรุปที่ครบถ้วน

๒.๒ กทช. เห็นชอบตามข้อเสนอของมูลนิธิเสียงธรรมฯ ให้จัดส่งนักวิชาการจากประเทศไทยเข้าร่วมประชุม AMARC ๑๐ the Tenth World Conference of Community Radio Broadcasters ระหว่างวันที่ ๘-๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณ เมือง La Plata ประเทศอาร์เจนตินา (ตามมติครั้งที่ ๓๕/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓) โดยให้ส่งข้อสรุปเป็น Resource Person เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการดำเนินงานของ กสทช. ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งนักวิชาการไทยได้จัดทำรายงานผลการประชุมโดยได้ข้อสรุปที่สำคัญว่าAMARC ยอมรับในสถานภาพของวิทยุชุมชนเชิงประเด็น และยังร่วมสนับสนุนให้มีวิทยุประเภทนี้ในประเทศไทยอีกด้วย

๒.๓ จัดทำผลการศึกษาวิเคราะห์แนวทางออกใบอนุญาตวิทยุในเชิงประเด็น ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงฯ พ.ศ. ๒๕๕๑ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จนแล้วเสร็จสมบูรณ์ (มิถุนายน ๒๕๕๔) แต่สำนักงาน กสทช. ยังจงใจปิดบังอำพรางไว้แม้จะทวงถามหลายครั้ง

๒.๔ จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ๔ ภาค ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เรื่อง วิทยุชุมชนเชิงประเด็น ซึ่งสำนักงาน กสทช. ได้เผยแพร่ผลการรับฟังแล้วตั้งแต่เดือนมิถุนายน ๒๕๕๔

๒.๕ ได้พิจารณาแนวทางออกใบอนุญาตแก่มูลนิธิเสียงธรรมฯ ตามมติครั้งที่ ๓๙/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ ซึ่ง ดร.พนา ทองมีอาคม ยอมรับถึงความผิดพลาดของ กทช. ที่กำหนดมาตรฐานทางเทคนิคโดยคำนึงถึงความหมายชุมชนในเชิงพื้นที่เท่านั้น ยังไม่มีหลักเกณฑ์ในเชิงประเด็น จึงได้กล่าวย้ำเพิ่มเติมท้ายมติ กทช. ในฐานะกรรมการกลั่นกรองด้านกิจการกระจายเสียงของ กทช. ด้วยว่า เห็นควรให้พิจารณาอย่างจริงจังในความเป็นไปได้ของการจัดหาเกณฑ์การอนุญาตให้มีวิทยุชุมชนเชิงประเด็น

๓. สำนักงานอัยการสูงสุดได้พิจารณากรณีมูลนิธิเสียงธรรมฯ ปรากฏรายละเอียดตามหนังสือที่ อส ๐๐๒๔(กท) / ๒๐๘ ลงวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๓ สรุปใจความสำคัญยืนยันว่า ในระหว่างที่ยังไม่มี กสทช. สำนักงานอัยการสูงสุดทราบว่า คณะกรรมการ กทช. มีมติให้คลื่นวิทยุเสียงธรรมฯ ทดลองออกอากาศได้ชั่วคราว จนกว่าจะได้รับใบอนุญาตตามประกาศ กทช.

๔. ฝ่ายนิติบัญญัติมีมติเป็นเอกฉันท์ยอมรับข้อเสนอของมูลนิธิเสียงธรรมฯ ให้บัญญัติคำนิยาม “ชุมชน” ที่มีความหมายอย่างกว้างครอบคลุมเชิงประเด็นเพื่อความชัดเจนไม่ต้องถกเถียงและไม่ต้องตีความในภายหลัง ทั้งนี้เพื่อให้สิทธิของผู้ประกอบการภาคประชาชนมีความทัดเทียมและเสมอภาคกับผู้ประกอบการประเภทอื่นๆ นอกจากนี้ยังเป็นการกำหนดให้มีจุดเชื่อมโยงระหว่าง “ชุมชน” กับ “ภาคประชาชน” ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงฯ พ.ศ. ๒๕๕๑ และพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. ๒๕๕๓

๕. ในเมื่อการดำเนินการตามข้อ ๒ ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว สำนักงานอัยการสูงสุดก็มีหนังสือเป็นสักขีพยานยืนยันแล้วตามข้อ ๓ ว่า ภายหลังการทดลองออกอากาศมูลนิธิเสียงธรรมฯ จะได้รับใบอนุญาต อีกทั้งฝ่ายนิติบัญญัติก็ได้บัญญัติความหมายวิทยุชุมชนในเชิงประเด็นไว้ในกฎหมายครบถ้วนทุกประการแล้วตามข้อ ๔ ดังนั้น กสทช. ย่อมสมควรต้องบังคับใช้ “ประกาศหลักเกณฑ์การอนุญาตบริการชุมชน” ที่ครอบคลุมเชิงประเด็นในทันที มิใช่การเตะถ่วงหน่วงเหนี่ยวด้วยการสร้างภาระขั้นตอนที่ไม่จำเป็นและมิใช่การจงใจลิดรอนสิทธิ์แก่มูลนิธิเสียงธรรมฯ ด้วยการบังคับใช้ “ประกาศหลักเกณฑ์ทดลองประกอบกิจการฯ” ให้ลดกำลังส่ง ลดความสูงเสา และจำกัดรัศมีกระจายเสียงไว้เพียง ๒๐ กม.เท่านั้น ซึ่งส่งผลกระทบกระเทือนแก่มูลนิธิเสียงธรรมฯ ให้ต้องสูญเสียเวลาและสถานภาพ เป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายอย่างร้ายแรงอยู่ในขณะนี้ สิ่งสำคัญที่สูญเสียยิ่งกว่านั้นก็คือ ประโยชน์สาธารณะที่ประชาชนและประเทศชาติเคยได้รับจากการเผยแผ่ธรรมะของมูลนิธิเสียงธรรมฯ ที่มีมายาวนานนับ ๑๐ ปี ก็พลอยได้รับผลกระทบไปด้วยจากการกระทำของ กสทช. ที่จงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายอย่างไม่เป็นการสมควรยิ่ง

๖. มาตรา ๕๙ (๕) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. ๒๕๕๓ บัญญัติให้สำนักงาน กสทช. ต้องเปิดเผยผลการศึกษาวิจัยของคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตามข้อ ๒.๓ แต่จนกระทั่งบัดนี้ผ่านมาแล้ว ๒ ปี กสทช. ก็ยังคงฝ่าฝืนกฎหมายด้วยการปิดบังอำพรางไว้ ซึ่งแม้มูลนิธิเสียงธรรมฯ และองค์กรภาคประชาชนอื่นๆ จำนวนไม่น้อยจะพยายามทวงถามต่อ กสทช. หลายครั้ง แม้กระทั่งครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๖ เครือข่ายประชาชนฯ ก็ยังให้โอกาสแก่ กสทช. เป็นครั้งสุดท้ายโดยมีหนังสือขอความอนุเคราะห์ให้เปิดเผยภายใน ๑๕ วัน แล้วก็ตาม

กสทช. ก็ดื้อรั้นไม่ฟังเสียงประชาชน ยังจงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายอย่างเย็นชา และโดยที่ผลการศึกษาฉบับนี้ทำขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักฐานทางวิชาการสำหรับการบังคับใช้ “ประกาศหลักเกณฑ์วิทยุบริการชุมชน” ที่ครอบคลุมเชิงประเด็น ซึ่งจะทำให้มูลนิธิเสียงธรรมฯ เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตโดยชอบในทันที ดังนั้น การที่ กสทช. ปิดบังอำพรางผลงานวิชาการและไม่นำพาต่อการร่างประกาศฉบับดังกล่าวเช่นนี้ ย่อมเป็นโทษความผิดทั้งทางแพ่งและอาญาฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ถือเป็นความจงใจกลั่นแกล้งมูลนิธิเสียงธรรมฯ ให้ต้องได้รับความเดือดร้อนเสียหายอย่างร้ายแรง

๗. แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙) ข้อ ๕.๑ ตัวชี้วัดข้อ ๙. กำหนดให้ กสทช. ต้องบังคับใช้ “หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์และการส่งเสริมการใช้คลื่นความถี่ในกิจการบริการชุมชน ในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ภายใน ๒ ปี” กล่าวคือต้องมีผลบังคับใช้ภายในสิ้นปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ซึ่งจะทำให้มูลนิธิเสียงธรรมฯ ได้รับสถานภาพทางกฎหมายที่สมบูรณ์ในไม่ช้านี้

ดังนั้น การฝ่าฝืนกฎหมายของ กสทช. ด้วยการปิดกั้นผลการศึกษาตามข้อ ๖ และการไม่มีทีท่าว่าจะร่างประกาศหลักเกณฑ์ตามข้อ ๗ พฤติการณ์อันมิชอบเหล่านี้ย่อมเป็นการบ่งชี้อย่างชัดแจ้งถึงความผิดปรกติและความไม่น่าไว้วางใจของ กสทช. ว่ายังคงจะฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายหลายข้อ และยังจะฝ่าฝืนประกาศซึ่งแม้ตนจะเป็นผู้ร่างหรือผู้บังคับใช้อย่างหาความละอายต่อบาปไม่ได้ก็ตาม การฝ่าฝืนดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อมูลนิธิเสียงธรรมฯ ให้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายที่รุนแรงหนักยิ่งขึ้นไปอีกอย่างไม่มีวันจบสิ้น และอาจไม่สามารถเยียวยาแก้ไขได้โดยง่ายอีกต่อไปหาก กสทช. ยังไม่รีบกลับเนื้อกลับตัวและตั้งใจปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

๘. ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้มูลนิธิเสียงธรรมฯ ต้องได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการจงใจกระทำผิดกฎหมายของ กสทช. หลายประการตามที่กล่าวมาข้างต้น ข้าพเจ้าจึงจำเป็นต้องเข้าแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อบันทึกไว้เป็นหลักฐาน และจะได้ดำเนินการคดีตามคำแนะนำของคณะนักกฎหมายในโอกาสต่อไป

 

 

                                                                           ***************************************************