ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน

พิมพ์

ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน

 
ข้อมูลประกอบการพิจารณาการบริหารจัดการคลื่นวิทยุกระจายเสียง
1.    ภาครัฐมีกฎหมายคุ้มครองในบทเฉพาะกาลแล้ว และจะได้รับใบอนุญาตโดยอัตโนมัติเมื่อ ร่าง พ...องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ฯ มีผลบังคับใช้(.๗๗) ซึ่งนายกรัฐมนตรีกล่าวยืนยันกับมูลนิธิเสียงธรรมฯ ว่า จะบังคับใช้ประมาณกลางปี ๒๕๕๓
2.    ภาคธุรกิจที่รับสัมปทานหรือทำสัญญากับรัฐ ก็มีกฎหมายคุ้มครองในบทเฉพาะกาลและจะได้รับใบอนุญาตโดยอัตโนมัติ(.๗๗)เช่นเดียวกับ ๑.
ในกรณีภาคธุรกิจที่เกิดขึ้นหลังการปฏิรูปสื่อ ซึ่งขณะนี้มีจำนวนกว่า ๖,๐๐๐ สถานี จะต้องรอ กสทช. เป็นผู้จัดสรรคลื่นโดยใช้หลักเกณฑ์ “การแข่งขันโดยเสรี” ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะมีผลให้วิทยุ ๖,๐๐๐ สถานีจะต้องมี “ผู้ได้” และ “ไม่ได้” ตามหลักเกณฑ์ของการแข่งขัน เพื่อควบคุมมิให้มี “ภาคธุรกิจ” มากเกินไป โดย กสทช.ต้องคำนึงสัดส่วนที่เหมาะสมของ “ภาครัฐ” “ภาคธุรกิจ” และ “ภาคประชาชน” ตามพรบ.คลื่นความถี่ฯ ๒๕๔๓ ด้วย ดังนั้น กทช. จึงไม่ควรมีข้อกังวลว่าจะมีคลื่นความถี่เหลือเพียงพอให้จัดสรรหรือไม่
3.    ภาคประชาชน ขณะนี้มีคลื่นความถี่ภาคประชาชนเพียง ๔๐๐ คลื่นเท่านั้นในจำนวน ๖,๕๒๑ คลื่นทั่วประเทศ และส่วนใหญ่เป็นสถานีขนาดเล็กแทบทั้งสิ้น เนื่องจากไม่ได้หารายได้จากการโฆษณา จะมีขนาดใหญ่บ้างก็เพียงบางแห่งเท่านั้น ซึ่งในพื้นที่นั้นๆ ก็จัดสรรกันเองได้อย่างลงตัวแล้ว
 
สำหรับเครือข่ายเสียงธรรมฯ ส่วนใหญ่เป็นสถานีขนาดเล็กซึ่งไม่มีกำลังพอที่จะขยายให้สูงขึ้นตามใจชอบได้ สำหรับพื้นที่บางแห่งซึ่งใช้กำลังส่งสูง สถานีวิทยุทั้งหลายก็มีการจัดสรรกันเองได้อย่างลงตัวแล้วเช่นกัน จึงไม่น่าจะมีข้อกังวลในการให้ใบอนุญาตชั่วคราวแก่ “ภาคประชาชน” ตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ของ กทช. ในขณะนี้
สรุป
.ภาครัฐ (กฎหมายรับรองว่ามี ขนาดใหญ่, กลาง, เล็ก)
- รายเก่า ได้รับใบอนุญาตโดยอัตโนมัติเมื่อร่าง พรบ. มีผลบังคับใช้ (.๗๗)
- รายใหม่ จะได้รับใบอนุญาตเมื่อมี กสทช
.ภาคธุรกิจ(กฎหมายก็รับรองว่ามี ขนาดใหญ่, กลาง, เล็ก)
- รายเก่า ได้รับใบอนุญาตโดยอัตโนมัติเมื่อร่าง พรบ. มีผลบังคับใช้ (.๗๗) ทั้งจนกว่าสัญญา/สัมปทานจะหมดอายุ ซึ่งก็ต้องไปต่อสู้โดยใช้หลักเกณฑ์ “การแข่งขันโดยเสรี”
- รายใหม่ จะได้รับใบอนุญาตเมื่อมี กสทช. และผ่านหลักเกณฑ์ “การแข่งขันโดยเสรี”
.ภาคประชาชน(ขอความกรุณาหน่วยงานผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งมีอำนาจหน้าที่โดยตรงตามกฎหมายช่วยออกแบบมาตรฐานทางเทคนิครับรองว่า มีขนาดใหญ่, กลาง, เล็ก อันเป็นสิทธิที่ทัดเทียมกับ ๑ และ ๒ ตามรัฐธรรมนูญ)
- รายเก่า   ไม่เคยมีมาก่อน เพราะประเทศไทยไม่เคยเปิดโอกาสให้ภาคประชาชน
- รายใหม่ รอความอนุเคราะห์ “ใบอนุญาตชั่วคราว” จากหน่วยงานผู้เกี่ยวข้องตามกฎหมายปัจจุบันเป็นการเปิดโอกาสที่ดีแก่สังคมและ “ภาคประชาชน” (ที่มาแจ้งการประกอบกิจการและมีเนื้อหาเป็นประโยชน์สาธารณะโดยเฉพาะในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมไม่ว่าของศาสนาใดก็ตาม เนื่องจากขณะนี้สังคม เยาวชน และคนทุกวงการ ล้วนถูกมอมเมาจากสื่อชนิดต่างๆ จำนวนมากจนมีปัญหาสังคมมากมาย จึงขอให้ท่านพิจารณาเป็นกรณีพิเศษแก่สื่อทางศาสนาโดยประชาชนเป็นผู้ดำเนินการบ้าง)
 

บทสรุป ระเบียบข้อบังคับของกทช. ควรจะออกแบบให้สมเหตุสมผลและสอดคล้องกับสภาพความจริงของการประกอบการ ซึ่งย่อมมีขนาดที่แตกต่างกันตามความต้องการและตามกำลังของประชาชน ที่สำคัญเป็นการใช้สิทธิและมาตรฐานที่ทัดเทียมกับ “ภาคธุรกิจ” และ “ภาครัฐ” ในกฎหมายฉบับเดียวกัน นั่นคือ

-          ภาคประชาชนผู้ประกอบการรายใหญ่ (ระดับชาติ) --> กำลังส่ง สูง กลาง ต่ำ ได้ตามความเหมาะสมและตามสิทธิที่จับจองมาก่อนโดยชอบ
-          ภาคประชาชนผู้ประกอบการขนาดกลาง (ระดับภูมิภาค) --> กำลังส่ง กลาง ต่ำ ได้ตามความเหมาะสมและตามสิทธิที่จับจองมาก่อนโดยชอบ
-          ภาคประชาชนผู้ประกอบการขนาดเล็ก (ระดับท้องถิ่น) --> กำลังส่ง ต่ำ ได้ตามความเหมาะสมและตามสิทธิที่จับจองมาก่อนโดยชอบ
 

 

บทสรุป ระเบียบข้อบังคับของกทช. ควรจะออกแบบให้สมเหตุสมผลและสอดคล้องกับสภาพความจริงของการประกอบการ ซึ่งย่อมมีขนาดที่แตกต่างกันตามความต้องการและตามกำลังของประชาชน ที่สำคัญเป็นการใช้สิทธิและมาตรฐานที่ทัดเทียมกับ “ภาคธุรกิจ” และ “ภาครัฐ” ในกฎหมายฉบับเดียวกัน นั่นคือ
-          ภาคประชาชนผู้ประกอบการรายใหญ่ (ระดับชาติ) --> กำลังส่ง สูง กลาง ต่ำ ได้ตามความเหมาะสมและตามสิทธิที่จับจองมาก่อนโดยชอบ
-          ภาคประชาชนผู้ประกอบการขนาดกลาง (ระดับภูมิภาค) --> กำลังส่ง กลาง ต่ำ ได้ตามความเหมาะสมและตามสิทธิที่จับจองมาก่อนโดยชอบ
 
[ Back ]