มูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชน

You are here: หน้าหลัก กฎหมายวิทยุกระจายเสียงและประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ

กฎหมายวิทยุกระจายเสียงและประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ

อีเมล พิมพ์ PDF

กฎหมายวิทยุกระจายเสียงและประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ

 
สรุปกฎหมายวิทยุที่น่ารู้
 
ตาม พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่น ฯ ๒๕๔๓ พรบ.ประกอบกิจการฯ ๒๕๕๑ ได้แบ่งประเภทของใบอนุญาตไว้ ๓ ประเภท ตามมาตรา ๑ ดังนี้
() ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการสาธารณะ ออกให้สำหรับการประกอบกิจการที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการบริการสาธารณะ แบ่งเป็น ๓ ประเภท (ซึ่งเรียกว่า ภาครัฐ)
() ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการสาธารณะประเภทที่ ๑ ออกให้สำหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการส่งเสริมความรู้ การศึกษา ศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม การเกษตร และการส่งเสริมอาชีพอื่น ๆสุขภาพ อนามัย กีฬา หรือการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน
 () ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการสาธารณะประเภทที่ ๒ ออกให้สำหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยสาธารณะ
() ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการสาธารณะประเภทที่ ๓ ออกให้สำหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการกระจายข้อมูลข่าวสารเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลกับประชาชนและรัฐสภากับประชาชน การกระจายข้อมูลข่าวสารเพื่อการส่งเสริมสนับสนุนในการเผยแพร่และให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข บริการข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์สาธารณะแก่คนพิการ คนด้อยโอกาส หรือกลุ่มความสนใจที่มีกิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือบริการข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์สาธารณะอื่น
 
() ใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน ได้แก่ ใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่มีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับการประกอบกิจการบริการสาธารณะ แต่ต้องเป็นประโยชน์ตามความต้องการของชุมชนหรือท้องถิ่นที่รับบริการ (โดยไม่แสวงหากำไรทางธุรกิจ) ( ภาคประชาชน )
ในร่าง พรบ. ฉบับที่กำลังร่างอยู่นี้ ใช้คำว่า “ชุมชนท้องถิ่น” แทน “ภาคประชาชน” ซึ่งเป็นการลิดรอนสิทธิภาคประชาชนยิ่งกว่าเดิม เพราะมีความหมายครอบคลุมเพียง หมู่บ้าน / ตำบล เท่านั้น
ทางมูลนิธิเสียงธรรมฯได้ขอให้กรรมาธิการวิสามัญฯตัดคำว่า“ชุมชนท้องถิ่น”ออก เหลือแต่“ชุมชน”ซึ่งมีความหมายทั้งแคบและกว้าง ขณะนี้ทางคณะกรรมาธิการฯเห็นด้วยกับหลักการและเหตุผลที่ทางมูลนิธิเสียงธรรมฯเสนอ และจะตัดคำว่า“ท้องถิ่น”ออกไป
 
() ใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจ ได้แก่ ใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ของผู้ประกอบกิจการเพื่อแสวงหากำไรในทางธุรกิจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด อย่างน้อยแบ่งเป็น ๓ ประเภท (ภาคธุรกิจ)
() ใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจระดับชาติ ออกให้สำหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่มีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมทุกภาคของประเทศ
() ใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจระดับภูมิภาค ออกให้สำหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่มีพื้นที่การให้บริการในกลุ่มจังหวัด
() ใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจระดับท้องถิ่น ออกให้สำหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่มีพื้นที่การให้บริการในจังหวัด     
                               
การขอรับใบอนุญาตทั้ง ๓ ประเภทนั้น ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะขอไว้ตามมาตรา ๑๑-๑๓ คือ
                มาตรา ๑๑ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการสาธารณะ ต้องเป็น
() กระทรวง ทบวง กรม องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นองค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐที่มิใช่รัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายหรือมีความจำเป็นต้องดำเนินกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
() สมาคม มูลนิธิ หรือนิติบุคคลอื่นที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์สาธารณะโดยไม่แสวงหากำไรในทางธุรกิจ ซึ่งมีความเหมาะสมกับการประกอบกิจการบริการสาธารณะตามลักษณะและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
() สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านการเรียนการสอนหรือการเผยแพร่ความรู้สู่สังคมตามลักษณะและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด    
มาตรา ๑๒ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน ต้องเป็นสมาคม มูลนิธินิติบุคคลอื่นที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งไม่ใช่หน่วยงานของรัฐและมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์สาธารณะโดยไม่แสวงหากำไรในทางธุรกิจ หรือกลุ่มคนในท้องถิ่นที่ไม่เป็นนิติบุคคล ซึ่งรวมตัวกันเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน ทั้งนี้ ต้องมีความเหมาะสมกับการประกอบกิจการบริการชุมชนตามลักษณะที่คณะกรรมการประกาศกำหนดในการกำหนดลักษณะตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการคำนึงถึงประโยชน์ในการส่งเสริมการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของประชาชนในชุมชนหรือในท้องถิ่น รวมทั้งป้องกันการครอบงำ การประกอบกิจการดังกล่าว
                มาตรา ๑๓ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
() ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่นต้องเป็นนิติบุคคลที่ผู้ถือหุ้นอันเป็นทุนหรือที่ผู้ลงทุนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตภูมิภาคหรือท้องถิ่นนั้น แล้วแต่กรณี และต้องมีฐานะทางการเงินมั่นคง มีระบบการตรวจสอบบัญชี และมีลักษณะอื่นใด ซึ่งประกันความมั่นคงในการประกอบกิจการ ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
() ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการประเภทอื่นนอกจาก () ต้องเป็นรัฐวิสาหกิจหรือบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์
 
พื้นที่ในการกระจายเสียงของใบอนุญาตแต่ละประเภท
. ใบอนุญาตประเภทสาธารณะ (ภาครัฐ) มีพื้นที่กระจายเสียงได้ทุกระดับ คือ
-      ทั่วประเทศ
-      กลุ่มจังหวัด
-      ภายในจังหวัด
.ใบอนุญาตประเภทธุรกิจ (ภาคธุรกิจ) มีพื้นที่กระจายเสียงได้ทุกระดับ เช่นเดียวกับใบอนุญาตประเภทสาธารณะ คือ
-      ทั่วประเทศ
-      กลุ่มจังหวัด
-      ภายในจังหวัด
. ใบอนุญาตประเภทบริการชุมชน มีพื้นที่กระจายเสียง คือ
                - ชุมชนเมืองใหญ่ (ภายใน ๓ กิโลเมตร)
                - ชุมชนเมือง (ภายใน ๕ กิโลเมตร)
                - ชุมชนนอกเขตเมือง (ภายใน ๑๕ กิโลเมตร)
                - ชุมชนลักษณะเฉพาะ (ไม่ระบุชัดเจน)
หลักการในการออกใบอนุญาตตามประเภทต่าง ๆ ได้กำหนดไว้ในมาตรา ๑๗ ดังนี้คือ
มาตรา ๑๗ การอนุญาตให้ประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์โดยใช้คลื่นความถี่ ให้คณะกรรมการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโดยคำนึงถึงภารกิจหรือวัตถุประสงค์ของการประกอบกิจการ และเป็นไปตามสัดส่วนการจัดสรรคลื่นความถี่ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมดังต่อไปนี้
() การออกใบอนุญาตประกอบกิจการบริการสาธารณะ ให้คำนึงถึงหน้าที่ตามกฎหมายหรือความจำเป็นเพื่อการบริการสาธารณะ โดยใช้คลื่นความถี่ที่จัดสรรไว้สำหรับภาครัฐ
() การออกใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชน ให้คำนึงถึงความต้องการที่หลากหลายความพร้อม และประโยชน์สาธารณะของชุมชน โดยใช้คลื่นความถี่ที่จัดสรรไว้สำหรับภาคประชาชน
() การออกใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจ ให้คำนึงถึงการส่งเสริมการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม และสนับสนุนให้มีการประกอบกิจการประเภทที่ให้บริการข่าวสารและสาระในสัดส่วนที่เหมาะสม โดยใช้คลื่นความถี่ที่จัดสรรไว้สำหรับภาคเอกชน
          สำหรับใบอนุญาตภาคประชาชน มีข้อกำหนดในการหารายได้คือ
มาตรา ๒๑ ในการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนจะหารายได้จากการโฆษณาไม่ได้
                มาตรา ๓๓ ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่แต่ละประเภทต้องจัดผังรายการให้มีสัดส่วนรายการ ดังต่อไปนี้
() ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการสาธารณะต้องกำหนดให้มีรายการที่เป็นข่าวสารหรือสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบ
() ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนต้องกำหนดให้มีรายการที่เป็นข่าวสารหรือสาระที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนหรือท้องถิ่นที่รับบริการในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบ
() ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจต้องกำหนดให้มีรายการที่เป็นข่าวสารหรือสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น ต้องมีรายการที่ผลิตเองในสัดส่วนที่คณะกรรมการประกาศกำหนดรายการที่เป็นข่าวสารหรือสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะตามวรรคหนึ่งหมายความรวมถึงรายการข่าวสาร รายการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย รายการส่งเสริมการศึกษา จริยธรรม ศิลปะ วัฒนธรรม การให้ความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม
 

สารบัญการประกอบกิจการวิทยุเสียงธรรมฯ