มูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชน

You are here: หน้าหลัก ข่าวสารมูลนิธิเสียงธรรมฯ นักวิชาการร้องผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบประกาศ กสทช. ไม่ส่งเสริมคลื่นธรรมะ / นักวิชาการร่วมลงชื่อเพื่อส่งเสริมคลื่นธรรมะ

นักวิชาการร้องผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบประกาศ กสทช. ไม่ส่งเสริมคลื่นธรรมะ / นักวิชาการร่วมลงชื่อเพื่อส่งเสริมคลื่นธรรมะ

อีเมล พิมพ์ PDF

 

นักวิชาการท่านใดประสงค์จะเข้าร่วมสนับสนุนการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาตามแนวทางกลุ่มนักวิชาการเพื่อการทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาท่านสามารถส่งรายชื่อมาได้ที่ email ที่ปรากฎนี้

อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

 

เพื่อจะได้เพิ่มเติมรายชื่อในข่าวนี้ต่อไป

 

*******************************************************

 

 

กลุ่มนักวิชาการเพื่อการทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา

๒๕๖ ถ.มิตรภาพ ซอย ๑๕ อ.เมือง นครราชสีมา

                                                                        

                                                          ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕

 

เรื่อง                       ขอร้องเรียนกรณี กสทช. สำนักงาน กสทช. ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบขัดแย้งพระราชปณิธานของบูรพมหากษัตริย์ไทย ออกประกาศหลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการกระจายเสียง พ.ศ. ๒๕๕๕ ขัดต่อกฎหมาย

เรียน             ผู้ตรวจการแผ่นดิน

                               

 

                    ด้วยกลุ่มนักวิชาการเพื่อการทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา อันประกอบด้วยผู้แทนคณะสงฆ์และนักวิชาการจากหลากหลายสาขาที่เล็งเห็นว่าการทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่สำคัญยิ่งยวดของชาติไทย บางท่านศึกษาบาลีและพระพุทธศาสนาก่อนสู่ภาคปฏิบัติ บางท่านสละอาชีพการงานทางโลกและอุปสมบทเข้าสู่สมณเพศเพื่อทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาโดยตรงด้วยการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา ต่างมีเจตนาเพื่อปกป้องพระธรรมวินัยให้เผยแผ่ขจรขจายเข้าสู่หัวใจพี่น้องชาวไทย ผู้แทนคณะสงฆ์และนักวิชาการกลุ่มดังกล่าวเห็นตรงกันว่า ทุกภาคส่วนของสังคมโดยเฉพาะภาครัฐต้องสนับสนุนส่งเสริมให้มีการเผยแผ่ธรรมะของพระพุทธเจ้ากระจายไปอย่างกว้างขวางควบคู่ไปกับการพัฒนาทางด้านการศึกษา เพื่อให้ธรรมะได้ซึมซับเข้าสู่จิตใจของคนไทย ยังความสงบและผาสุกร่มเย็นให้กับสังคมทุกระดับชั้นได้อย่างแท้จริง แม้กระทั่งในสังคมของผู้ที่มีความรู้สูงในทางโลกก็จำเป็นที่ต้องนำธรรมมาเป็นหลักยึดในการปฏิบัติตน มิฉะนั้นแล้วบุคคลเหล่านี้จะนำความรู้ที่มีใช้ในสิ่งที่ผิดศีลธรรมเป็นภัยอันตรายต่อชาติในภายหน้า ความสำคัญจำเป็นดังกล่าว เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนในหมู่นักปราชณ์ทุกชาติทุกภาษา สมคำกล่าวของโสเครตีส (Socrates) นักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่ชาวกรีกที่ได้ให้คติเป็นอมตะวาจาด้วยคำกล่าวที่รู้จักกันดีว่า "ความรู้คู่คุณธรรม" (Knowledge is Virtue)

 

          อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ของชาติไทยในสมัยปัจจุบันกลับปรากฏว่า ในขณะที่องค์กรภาครัฐ เช่น สถานีวิทยุในสังกัดของมหาเถรสมาคมรวม ๔๐๑ สถานี สถานีวิทยุในเครือข่ายสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติหลายแห่ง วัดต่างๆ รวมถึงองค์กรภาคประชาชน เช่น เครือข่ายสถานีวิทยุวัดสังฆทาน เครือข่ายสถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชนฯ หรือองค์กรเอกชนต่างๆ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพระพุทธศาสนา ซึ่งได้ทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่องยาวนาน มีประชาชนจำนวนมากรับฟังธรรมและปฏิบัติตามหลักศาสนธรรมเป็นประจำ เช่น การทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น การนั่งสมาธิภาวนา ไปพร้อมๆ กับการรับฟังสถานีวิทยุดังกล่าว แทนที่ กสทช.สำนักงาน กสทช. จะเร่งให้การสนับสนุนสื่อทางธรรมเหล่านี้เพื่อสร้างสังคมให้เป็น “แผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง” ประชาชนเจริญด้วยศีลธรรมความดีทั้งหลาย กลับไม่เห็นคุณค่าของธรรมะอันประเสริฐดังกล่าวข้างต้น ด้วยการออกประกาศที่มีผลทำให้พื้นที่การรับฟังธรรมะลดลงอย่างมาก จัดเป็นการรอนสิทธิหรือทำให้ประชาชนเสียประโยชน์สุขอันควรมีควรได้ทั้งในโลกนี้และโลกหน้าอย่างมหาศาลจากการถูกปิดกั้นพื้นที่กระจายรับฟังธรรมะให้คับแคบตีบตันลง

          นอกจากนี้ ในปัจจุบันที่ปัญหาสังคมทุกด้านต่างรุมเร้าเข้ามา อันมีต้นเหตุมาจากจิตใจที่เสื่อมทรามจากศีลธรรมทั้งสิ้น ธรรมะก็ยิ่งทวีความจำเป็นมากยิ่งขึ้นต่อสังคม ดังจะเห็นได้จากการแถลงข่าวของนายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต  เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ในเรื่องอัตราการฆ่าตัวตายของมนุษยชาติในโลกปัจจุบันพบว่า การฆ่าตัวตายและความพยายามฆ่าตัวตาย เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและสังคมทุกประเทศทั่วโลก องค์การอนามัยโลกประมาณการว่าแต่ละปีมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่า  ล้านคน คิดเฉลี่ยมีผู้ฆ่าตัวตาย สำเร็จ  คน ในทุก ๔๐ วินาที ส่งผลกระทบต่อจิตใจของครอบครัวและผู้คนรอบข้างของผู้ตายอีกประมาณ ๑๐-๒๐ ล้านคน ในแต่ละปี รวมทั้งส่งผลเสียหายทางเศรษฐกิจ สำหรับในประเทศไทยมีอัตราฆ่าตัวตาย ๖ คนต่อแสนคน โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นอายุ ๑๐-๑๙ ปี พบว่าในช่วง  ปีที่ผ่านมา มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพวัยรุ่นของโรงพยาบาลรามาธิบดี ประมาณการเมื่อปลายปี ๒๕๕๓ ว่า     ในประเทศไทยมีวัยรุ่นทำแท้งถึงปีละ  แสนคน หรือวันละราว ๑,๐๐๐ คน นับเป็นอัตราการทำแท้งในวัยรุ่นที่สูงที่สุดในโลก

                    นอกจากนี้ การที่สื่อต่าง ๆ ส่งเสริมให้ประชาชนฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมแต่ในเรื่องวัตถุ ให้คุณค่าทางศีลธรรมน้อยมาก มีผลให้ปัญหาคอรัปชั่นในประเทศไทยได้ขยายตัวอย่างรุนแรง โดย นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ว่า ดัชนีสถานการณ์คอรัปชั่นไทย (Thai Corruption Situation Index : CSI) มีแนวโน้มที่รุนแรงมาก กล่าวคือ ดัชนีคอรัปชั่นโดยรวมอยู่ที่ ๓.๕ คะแนน จากคะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน (คะแนน หมายถึง รุนแรงมากที่สุด ๑๐ คะแนน หมายถึง ไม่มีการคอรัปชั่นเลย) สรุปความเสียหายของการทุจริตคอรัปชั่นเมื่อประเมินจากงบประมาณรายจ่ายภาครัฐ ประเภทจัดซื้อจัดจ้างค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างของหน่วยงานราชการ และงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ พบว่า อัตราการจ่ายที่ร้อยละ ๓๐-๓๕ คิดเป็นมูลค่าสูงถึง ๒๕๒,๐๔๓ – ๒๙๔,๐๕๐.๑   ล้านบาท จากงบรายจ่ายและงบลงทุนรวมในปี ๒๕๕๕ ที่ ๘๔๐,๑๔๓.๒ ล้านบาท มีผลกระทบต่อจีดีพีร้อยละ ๒.๑๘  ๒.๕๔  ส่วนในปี ๒๕๕๖ จะเพิ่มขึ้นเป็น ๒๘๒,๗๘๒.๔ – ๓๒๙,๙๑๒.๘ ล้านบาท จากงบ ๙๔๒,๖๐๘ ล้านบาท มีผลต่อจีดีพีร้อยละ ๒.๒๕ – ๒.๖๓

          จากผลการศึกษาที่หยิบยกมากล่าวในที่นี้แม้เพียงบางส่วนเท่านั้นก็ยังเห็นถึงความรุนแรงของปัญหาที่มีสาเหตุหลักมาจากความเสื่อมถอยด้านศีลธรรมของมนุษย์ทั้งสิ้น กลุ่มนักวิชาการเพื่อการทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาจึงเห็นตรงกันว่า ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการสร้างความสมดุลระหว่างมิติทางวัตถุกับมิติทางจิตใจโดยต้องเร่งนำธรรมะเข้าสู่จิตใจของคนผ่านการสื่อสารทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อวิทยุกระจายเสียงที่เข้าถึงประชาชนได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว เป็นเครื่องมือสื่อสารที่สำคัญยิ่งสำหรับการพัฒนาคนโดยเฉพาะมิติทางจิตใจเพื่อการสร้างสังคมอุดมสุข แทนที่ กสทช. / สำนักงาน กสทช. จะใช้อำนาจหน้าที่เพื่อกอบกู้วิกฤตของชาติด้านศีลธรรม วัฒนธรรม และพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นสถาบันหลักที่สำคัญของชาติด้วยการเร่งส่งเสริมสถานีวิทยุทางด้านนี้ กลับกลายเป็นว่า นอกจากจะไม่จัดสรรงบประมาณที่มีอยู่อย่างมหาศาลเพื่อสนับสนุนสถานีวิทยุเหล่านี้แล้ว ยังไม่ส่งเสริมให้ได้รับใบอนุญาต แถมยังข่มขู่คุกคามและแจ้งความดำเนินคดีแก่สถานีวิทยุเพื่อพระพุทธศาสนาหลายแห่งเสมือนว่า กสทช. / สำนักงาน กสทช. ไร้หิริโอตตัปปะ เห็นสถานีเหล่านี้เป็นศัตรูที่ต้องทำลายล้างให้สิ้นไป หรืออย่างน้อยที่สุดไม่ต้องสนับสนุนด้านงบประมาณก็ควรให้ความคุ้มครองสิทธิที่มีอยู่เดิมให้คงไว้เช่นเดียวกับผู้ประกอบการรายเดิม     ซึ่งก็ไม่มีนโยบายดังกล่าวแต่อย่างใด แม้จะมีผู้คัดค้านจำนวนมากมายจากทั่วประเทศก็เพิกเฉยไม่รับฟัง ยังคงมีอคติ และมีมิจฉาทิฏฐิครอบงำจิตใจ ในเมื่อกสทช. / สำนักงาน กสทช. อันเป็นองค์กรอิสระของรัฐที่เกิดจากรัฐธรรมนูญเพื่อการปฏิรปสื่อมี มิจฉาทิฏฐิ เสียเองเช่นนี้แล้ว ย่อมเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติให้สิ้นไปโดยเร็วอย่างแน่แท้หากไม่รีบแก้ไขโดยเร็วที่สุดจากผู้เป็นต้นเหตุในที่นี้ก็คือ กสทช. / สำนักงาน กสทช. นั่นเอง สื่อวิทยุกระจายเสียงในปัจจุบันแทนที่จะมีนโยบายใช้เพื่อพัฒนามิติด้านจิตใจกลับกลายเป็นว่าสถานีวิทยุทั้งรายเดิม (คลื่นหลัก ๓๑๔ สถานีและรายใหม่(จำนวนกว่า ,๐๐๐ สถานีมุ่งเน้นแต่เพียงมิติทางวัตถุ ทำให้เกิดความฟุ้งเฟ้อลืมตัว หลงงมงายกับวัฒนธรรมที่ขัดศีลธรรมจากต่างชาติ ฟังแล้วกระตุ้นให้เกิดราคะตัณหา เกิดความโลภ โกรธ หลง ได้ง่ายตลอดเวลาที่เปิดวิทยุรับฟัง โดย กสทช. / สำนักงาน กสทช. ไม่มีนโยบายกำกับดูแลแต่อย่างใดทั้งสิ้น

                    กสทช. ได้รับการคัดเลือกจากวุฒิสภา เพื่อเข้ามาทำหน้าที่ในฐานะหน่วยงานของรัฐในการจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลการประกอบการ หน้าที่ที่สมควรกระทำเป็นเบื้องแรกเนื่องจากสื่อวิทยุกระจายเสียงมีอยู่อย่างจำกัดจึงควรต้องใช้สื่อที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีให้สังคม กสทช. / สำนักงาน กสทช. ต้องส่งเสริมให้สื่อที่ดีให้ได้รับใบอนุญาต และกีดกันสื่อที่ไม่ดีให้เข้ามาโดยยากจึงจะเรียกว่าการจัดสรรและกำกับดูแล และสอดคล้องกับพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงให้ส่งเสริมคนดีให้มีอำนาจ และถึงแม้ว่า กสทช. จะเป็นองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ แต่ความเป็นอิสระดังกล่าวย่อมมีภาระผูกพันตามกฎหมาย ไม่สามารถออกประกาศใด ๆ ตามอำเภอใจที่ขัดต่อการส่งเสริมพระพุทธศาสนา ขัดต่อศีลธรรม ขัดต่อจารีตประเพณีที่มีรากฐานมาจากพระพุทธศาสนา หรือขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กสทช. / สำนักงาน กสทช. ย่อมไม่สมควรและไม่สามารถกระทำได้

                    กลุ่มนักวิชาการเพื่อการทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา เห็นเป็นเอกฉันท์ว่า ประกาศของ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการกระจายเสียง พ.ศ. ๒๕๕๕ ขัดต่อกฎหมาย ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ขัดต่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ ขัดต่อนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา ดังต่อไปนี้

 

๑ . ขัดต่อพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒.๒๕๔๕ และ (ฉบับที่ ๓.๒๕๕๓

มาตรา ๖๓ รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมตามความจำเป็น

ทั้งนี้ ในเมื่อรัฐได้มอบอำนาจในการจัดสรรคลื่นความถี่ให้กับ กสทช. / สำนักงาน กสทช. แล้ว กสทช. / สำนักงาน กสทช. ย่อมต้องปฏิบัติตามกฎหมายข้างต้นอย่างเคร่งครัด โดยต้องจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา และจะต้องจัดสรรให้เพียงพอทุกพื้นที่เพราะขณะนี้ถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วนยิ่ง ทั้งนี้เพราะในปัจจุบันสังคมไทยมีความจำเป็นต้องพัฒนาทางด้านจิตใจอย่างเร่งด่วนด้วยเหตุผลที่หยิบยกมาดังกล่าวข้างต้น แต่ประกาศของ กสทช. ดังกล่าวไม่มีส่วนใดกำหนดไว้เพื่อการส่งเสริมด้านพระพุทธศาสนาเป็นกรณีพิเศษให้สอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าวแต่อย่างใด นอกจากจะไม่พิจารณาจัดสรรคลื่นความถี่ให้เพื่อใช้ประโยชน์ในการทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาแล้ว ยังลิดรอนพื้นที่การรับฟังธรรมลงไปอีก ทั้งนี้เนื่องจากกลุ่มนักวิชาการเพื่อการทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาทราบโดยตรงจากผู้ประกอบการสถานีวิทยุในสังกัดมหาเถรสมาคมและโดยอ้อมจากข่าวทางสื่อมวลชนด้วยว่า กสทช. / สำนักงาน กสทช. มีนโยบายบังคับให้สถานีวิทยุเพื่อพระพุทธศาสนาในสังกัดมหาเถรสมาคมทุกแห่งลดกำลังส่งเหลือเพียง ๕๐๐ วัตต์ เสาอากาศสูงเพียง ๖๐ เมตร และยังมีนโยบายให้ลดจำนวนคลื่นในแต่ละจังหวัดลงเหลือเพียง ๑-๒ คลื่นเท่านั้น

ในประเด็นนี้ กลุ่มนักวิชาการเพื่อการทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาขอคัดค้านอย่างเต็มที่เพราะเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า กสทช. / สำนักงาน กสทช. ใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อกฎหมายดังกล่าวแบบตรงกันข้ามกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย เพราะกฎหมายตามบทบัญญัตินี้บังคับให้ กสทช. / สำนักงาน กสทช. ต้องตระหนักถึงความจำเป็นของพระพุทธศาสนาว่าเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งจึงต้องจัดสรรให้เป็นกรณีพิเศษเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตด้านศีลธรรมของคนในชาติ นั่นคือ ต้องให้คุณค่าด้านศาสนามากกว่าการบันเทิงซึ่งเนื้อหาวิทยุรายเดิมส่วนใหญ่มีแต่เน้นธุรกิจการบันเทิงแทบทั้งสิ้น แทนที่จะเพิ่มกำลังส่งวิทยุด้านศาสนาให้อย่างน้อยทัดเทียมกับวิทยุกลุ่มนี้หรือต้องมากกว่าเพราะเป็นประโยชน์อย่างหาประมาณมิได้ กสทช. / สำนักงาน กสทช. กลับไม่มีนโยบายตามกฎหมายดังกล่าวแต่อย่างใดทั้งสิ้น มีแต่ออกประกาศมาเพื่อการลิดรอนซึ่งขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายฉบับนี้อย่างชัดเจน

 

อนึ่ง การทะนุบำรุงศาสนานั้นสามารถกระทำได้ไม่ว่าจากภาครัฐหรือประชาชน และต้องได้รับสิทธิตามกฎหมายนี้โดยได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่จาก กสทช. / สำนักงาน กสทช.  ดังนั้นไม่ว่า วิทยุในกำกับของมหาเถรสมาคม วิทยุในสังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ วิทยุตามวัดต่างๆ หรือวิทยุภาคประชาชนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิทยุเหล่านี้ทุกกลุ่มต้องได้รับการสนับสนุนจาก กสทช. / สำนักงาน กสทช. ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายนี้

๒. ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  มาตรา ๓๗   ซึ่งบัญญัติไว้ว่า

บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา และย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติหรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

ในการใช้เสรีภาพตามวรรคหนึ่ง บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองมิให้รัฐกระทำการใด  อันเป็นการรอนสิทธิหรือเสียประโยชน์อันควรมีควรได้ เพราะเหตุที่ถือศาสนา นิกายของศาสนา ลัทธินิยมในทางศาสนา หรือปฏิบัติตามศาสนธรรมศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือ แตกต่างจากบุคคลอื่น 

ประกาศของ กสทช.ดังกล่าวได้ลิดรอนสิทธิผู้รับฟังสถานีวิทยุที่เผยแผ่ธรรมะมายาวนานก่อนมี กสทช. / สำนักงาน กสทช. โดยผู้รับฟังจำนวนมากตั้งใจปฏิบัติจิตตภาวนาระหว่างการฟังธรรม มีการสวดมนต์ภาวนา ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น ไปพร้อมๆ กับรายการของสถานี ในเมื่อประกาศฉบับดังกล่าวส่งผลกระทบกระเทือนทำให้พื้นที่การออกอากาศของสถานีวิทยุที่เผยแผ่ธรรมะต้องลดลง และยังทำให้ผู้ที่เคยรับฟังอยู่เป็นประจำ ไม่สามารถรับฟังต่อไป ประโยชน์สูงสุดที่เคยได้รับจากการฟังธรรมเพื่อปฏิบัติตามศาสนธรรมต้องสูญสิ้นไปต้องสูญสิ้นไป

๓. ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  มาตรา ๗๗   ซึ่งบัญญัติไว้ว่า

“รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านานและศาสนาอื่น ทั้งต้องส่งเสริมความเข้าใจอันดีและความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา รวมทั้งสนับสนุนการนำหลักธรรมของศาสนามาใช้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต”

บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าวบังคับให้ กสทช. / สำนักงาน กสทช. ต้องสนับสนุนการนำหลักธรรมของศาสนามาใช้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ในเมื่อวิทยุเพื่อพระพุทธศาสนาทุกกลุ่มกระจายเสียงหลักธรรมของศาสนามาใช้ตรงตามเจตนารมณ์ดังกล่าว กสทช. / สำนักงาน กสทช. ก็ต้องให้การสนับสนุนตามกฎหมายนี้ การออกประกาศที่มีผลให้วิทยุเพื่อพระพุทธศาสนาทุกกลุ่มให้ต่ำต้อยกว่าวิทยุรายเดิมเพื่อการบันเทิงทางธุรกิจจึงเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายนี้อย่างชัดเจน

 

๔. ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  มาตรา ๔๗   ซึ่งบัญญัติไว้ว่า


          คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุ โทรทัศน์ และวิทยุโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ

ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ ตามวรรคหนึ่งและกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
            การดำเนินการตามวรรคสองต้อองคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่นทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐและประโยชน์สาธารณะอื่น และการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม รวมทั้งต้องจัดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการสื่อมวลชนสาธารณะ

กสทช. ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐ ออกประกาศฉบับนี้ โดยไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนแต่อย่างใด โดยอ้างเหตุผลเพียงว่า มีสถานีวิทยุเป็นจำนวนมาก จึงต้องลดกำลังส่งทุกสถานีลง นั่นคือ มีนโยบายที่ใช้มาตรฐานเทคนิคเป็นสาระสำคัญ มิได้นำเอาเนื้อหารายการที่เป็นประโยชน์ตามเจตนารมณ์ดังกล่าวมาเป็นสาระสำคัญแต่อย่างใด ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในข้อดังกล่าวอย่างชัดเจน และหาก กสทช. นำประเด็นเนื้อหาของรายการเป็นตัวตั้งโดยถือเป็นสาระสำคัญที่ต้องพิจารณาเป็นอันดับแรกแล้ว ย่อมจะสามารถแก้ปัญหาจำนวนสถานีวิทยุที่มีอยู่จำนวนให้ลดจำนวนลงได้อย่างง่ายดาย การไม่รีบแถลงข่าวต่อสาธารณชนว่าจะทบทวนหรือส่งเสริมวิทยุเพื่อพระพุทธศานาทุกกลุ่มให้สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญเช่นนี้ทั้งๆ ที่มีประชาชนจำนวนมากกว่า ๑๗๓,๗๖๗ รายชื่อ ได้แสดงเจตนาคัดค้าน ก็ยังเพิกเฉยไม่ใส่ใจเช่นนี้ ก็ยิ่งประจักษ์เป็นหลักฐานพยานว่า กสทช. / สำนักงาน กสทช. จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างแรงกล้า

 

๕. ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  มาตรา ๗๐   ซึ่งบัญญัติไว้ว่า

บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้

บรรดาสถานีวิทยุเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทุกกลุ่มมีเจตนารมณ์เดียวกันในการบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะเพื่อการพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาอันเป็นรากฐานของชาติและมีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งแนบแน่นระหว่างสถาบันกษัตริย์กับสถาบันพระพุทธศาสนา เนื้อหารายการของสถานีวิทยุดังกล่าวจึงเป็นไปเพื่อความมั่นคงในสถาบันหลักของชาติอย่างแท้จริง ซึ่งสอดคล้องกับบทบัญญัตินี้ตามรัฐธรรมนูญ

กสทช. / สำนักงาน กสทช. ก็มีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าวนี้เช่นเดียวกัน จึงต้องใช้อำนาจหน้าที่ในองค์กรของตนเพื่อพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เช่นเดียวกัน ในเมื่อใช้อำนาจหน้าที่ออกประกาศหลักเกณฑ์ด้านวิทยุกระจายเสียงแทนที่จะใช้สื่อประเภทนี้เพื่อรองรับบทบัญญัติดังกล่าวด้วยการคุ้มครอง ส่งเสริม และสนับสนุน บรรดาสถานีวิทยุเพื่อพระพุทธศาสนาให้ได้รับสิทธิเสรีภาพในการประกอบการที่มากกว่าผู้ประกอบการที่แทบมิได้ใช้สื่อเพื่อพิทักษ์รักษาสถาบันหลักของชาติตามรัฐธรรมนูญ กสทช. / สำนักงาน กสทช. ยังหาญกล้าออกประกาศที่ลิดรอนสิทธิผู้ประกอบการด้านพระพุทธศาสนาให้มีพื้นที่กระจายเสียงคับแคบตีบตันลงไปอีก ซึ่งเท่ากับออกประกาศมาเพื่อสกัดกั้นการพิทักษ์รักษาศาสนานั่นเอง ข้าพเจ้าและกลุ่มฯ เห็นว่าประกาศของ กสทช. ฉบับนี้ขัดต่อเจตนารมณ์แห่งบทบัญญัติตามมาตรา ๗๐ อย่างชัดเจน มีโทษความผิดถึง ๒ ชั้น เนื่องจาก กสทช. / สำนักงาน กสทช. เองไม่ทำหน้าที่ในการพิทักษ์รักษาและยังมาลิดรอนสิทธิเสรีภาพของบุคคลที่กำลังตั้งใจทำหน้าที่ในการพิทักษ์รักษาสถาบันหลักของชาติให้เกิดอุปสรรคขัดขวางการดำเนินการอีกด้วย

๖. ประเด็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  มาตรา    ซึ่งบัญญัติไว้ว่า

ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

 

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแม้จะมีมากถึง ๓๐๙ มาตรา แบ่งเป็น ๑๕ หมวด และอีก ๑ บทเฉพาะกาล แต่การธำรงความเป็นชาติไทยนั้นประกอบขึ้นด้วยมิติต่างๆ หลายประการ ทั้งจารีตประเพณีอันดีงามที่สืบทอดกันมาจนกระทั่งได้จดจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรและเป็นตัวบทกฎหมายให้สังคมได้ยึดถือปฏิบัติเพื่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี แม้รัฐธรรมนูญมีหลายร้อยมาตราแต่กระนั้นยังคงสภาพของความเป็น ใบไม้ในกำมือ นั่นคือ ไม่สามารถบัญญัติได้ละเอียดครบถ้วนทุกสิ่งอันได้ คล้ายกับพระธรรม ๘๔๐๐๐ กองที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ความรู้ที่ตถาคตรู้ก็เป็นเหมือนใบไม้ในป่า มีเป็นจำนวนมากแต่ไม่ได้นำเอามาสั่งสอน สิ่งที่สอนเป็นเหมือนใบไม้ในกำมือ

บูรพมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงเกี่ยวพันอย่างลึกซึ้งแนบแน่นกับพระพุทธศาสนา ทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก ทรงเป็นพุทธมามกะ ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชซึ่งเป็นพระประมุขของสงฆ์ทั้งปวงในสังฆมณฑล ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยหลักธรรมในพระพุทธศาสนามีทศพิธราชธรรมเป็นธรรมของพระราชาในการครองราชย์ ทรงเห็นคุณค่าของพระพุทธศาสนายิ่งกว่าชีวิตของพระองค์ ทรงยอมสละชีวิตเลือดเนื้อได้เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ธัมมบูชา สังฆบูชา จึงปรากฏพระปณิธานของแต่ละพระองค์เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาไว้จำนวนมาก มีวัดวาอารามพุทธศาสนสถานเกิดขึ้นในแต่ละรัชสมัยจำนวนมาก ทรงถวายที่ดินจำนวนมากถวายเป็นศาสนสมบัติในศาสนา จึงเป็นที่ประจักษ์ชัดเจนว่า บูรพมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงเห็นคุณค่าและเข้าใจอย่างลึกซึ้งในพระธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา นับเป็นคติตัวอย่างอันงดงามยิ่งสืบทอดมายาวนานจวบจนถึงปัจจุบันสมัย

ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองพระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจผ่านองค์กรของรัฐเพื่อปฏิบัติหน้าที่แทนพระองค์ในด้านต่างๆ กสทช. / สำนักงาน กสทช. ก็เป็นองค์กรของรัฐองค์กรหนึ่งที่ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ทำหน้าที่ต่างพระเนตรพระกรรณในการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน อำนาจหน้าที่ดังกล่าวเป็นอำนาจที่ได้มาจากพระมหากษัตริย์ มิใช่ของ กสทช. / สำนักงาน กสทช. โดยตรง ดังที่ กสทช.ได้ชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๕ ที่รัฐสภา จากการถูกไต่สวนกรณีความไม่โปร่งใสในการจัดประมูลคลื่น ๓ จีว่า "กสทช.ทราบดีความเจ็บปวดเกิดขึ้นเสมอกับความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ และ กสทช.ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ซื่อสัตย์ สุจริต ตามที่ได้รับโปรดเกล้าฯจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ในกรณีวิทยุกระจายเสียง ข้าพเจ้าและกลุ่มฯ ประจักษ์ชัดเจนแล้วว่า กสทช. ปฏิบัติขัดแย้งกับคำกล่าวข้างต้นแบบตรงกันข้ามทีเดียว เนื่องจากแทนที่ กสทช. / สำนักงาน กสทช. จะใช้อำนาจหน้าที่เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการทุกประเภททุกกลุ่มที่ตั้งใจเผยแผ่ธรรมะผ่านการสื่อสารประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต หรือด้วยระบบ ๓ จี ฯลฯ แต่กลับใช้อำนาจหน้าที่ในการลิดรอนสิทธิของผู้ประกอบการดังกล่าวให้คับแคบลงกว่าเรื่องทางโลกที่ส่งเสริมแต่กิเลสตัณหาเนื้อหารายการเต็มไปด้วยไฟราคะ โทสะ โมหะ ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่า กสทช. / สำนักงาน กสทช. กำลังปฏิบัติหน้าที่สวนทางพระราชปณิธานของบูรพกษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทั้งๆ ที่กำลังใช้พระราชอำนาจของพระองค์ในการทำหน้าที่ จึงเท่ากับเป็นการแอบอ้างเอาพระราชอำนาจของพระองค์มาปู้ยี้ปู้ยำให้เสียหาย ข้าพเจ้าและกลุ่มฯ เห็นว่าหากพระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจของพระองค์โดยตรงในการวินิจฉัยเรื่องนี้ พระองค์จะไม่ทรงลิดรอนประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากพระพุทธศาสนาโดยเด็ดขาด เพราะธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่เป็นสวากขาตธรรมเป็นทางดำเนินเพื่อความสุขที่แท้จริงทั้งในโลกนี้และโลกหน้า การที่ กสทช / สำนักงาน กสทช. ให้ค่าของพระศาสนาด้อยค่ากว่าเรื่องบันเทิงโลกีย์หรือวิชาทำมาหากินทางโลกซึ่งเป็นเพียงเดรัจฉานวิชาให้สูงค่ากว่าโลกุตรธรรมของพระพุทธเจ้าเช่นนี้จึงเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับพระราชปณิธานของบูรพมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์อย่างรุนแรงที่สุด ประหนึ่งว่า กสทช. / สำนักงาน กสทช. กำลังใช้อำนาจหน้าที่เพื่อดูหมิ่นเหยียบย่ำสิ่งประเสริฐสูงสุดที่บูรพมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงเคารพบูชาและเทิดทูนเหนือเศียรเกล้า และแม้รัฐธรรมนูญจะมิได้บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ กสทช. / สำนักงาน กสทช. ก็ไม่สามารถจะพ้นความผิดในการละเมิดล่วงเกินสิ่งประเสริฐสูงสุดนี้ไปได้ เป็นการปล้นเอาพระราชอำนาจของพระองค์มาปฏิบัติหน้าที่ที่ขัดแย้งกับพระราชปณิธานของพระองค์เสียเอง จึงเป็นการทำลายประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่รุนแรงที่สุด

 

๗. ไม่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙)  ซึ่งมีแนวคิดดังนี้

     การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ มีแนวคิดที่มีความต่อเนื่องจากแนวคิดของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘-๑๐ โดยยังคงยึดหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และ “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” รวมทั้ง สร้างสมดุลการพัฒนา” ในทุกมิติ และขับเคลื่อนให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในทุกระดับ เพื่อให้การพัฒนาและบริหารประเทศเป็นไปบนทางสายกลาง เชื่อมโยงทุกมิติของการพัฒนาอย่างบูรณาการ ทั้งคน สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและการเมือง โดยมีการวิเคราะห์อย่าง มีเหตุผล” และใช้หลัก ความพอประมาณ” ให้เกิดความสมดุลระหว่างมิติทางวัตถุกับจิตใจของคนในชาติ ...... รวมทั้งเสริมสร้างศีลธรรมและสำนึกใน “คุณธรรม” จริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่และดำเนินชีวิตด้วย ความเพียร” จะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีให้พร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในระดับปัจเจก ครอบครัวชุมชน สังคม และประเทศชาติ

                    ประกาศ กสทชเรื่องหลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ. ๒๕๕๕ หรือมติ กสทช. / สำนักงาน กสทช. ไม่มีแนวนโยบายในการจัดสรรคลื่นความถี่ด้านศีลธรรมคุณธรรมหรือทางด้านจิตใจอย่างทั่วถึงและเพียงพอแก่ปวงชนชาวไทย มีแต่มุ่งเน้นด้านวัตถุเพียงด้านเดียวเท่านั้น สิ่งเหล่านี้ได้สะท้อนถึงแนวคิดในการจัดสรรคลื่นความถี่และการปฏิบัติหน้าที่ของกสทชชุดปัจจุบันว่า  ไม่สนใจในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในมิติของจิตใจ จึงออกประกาศของ กสทชที่ไม่คุ้มครองวิทยุที่มีเนื้อหาที่พัฒนาคุณภาพในมิติทางจิตใจ ด้วยการลดเสาสัญญาณและกำลังส่งลงเสมอกับสถานีวิทยุที่แทบหาสาระอันใดมิได้ ที่ซ้ำร้ายกว่านั้นประกาศดังกล่าวทำให้วิทยุที่มุ่งพัฒนาทรัพยากรบุคคลต้องคับแคบตีบตันกว่าวิทยุรายเดิมที่มุ่งเน้นธุรกิจบันเทิงมอมเมาคนไทยให้หลงใหลฟุ้งเฟ้อลืมตัวลืมแม้กระทั่งขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชาติไทยให้สูญสิ้นไปกลับได้รับการคุ้มครองและมีสิทธิที่เหนือกว่าวิทยุที่พัฒนามนุษย์  ซึ่งนอกจากจะเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ที่ผิดพลาดขัดกฎหมายจนกลายเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของสถาบันพุทธศาสนาซึ่งเป็นสถาบันหลักของชาติแล้ว กสทช. / สำนักงาน กสทช. ยังใช้อำนาจหน้าที่เพื่อบั่นทอนทรัพยากรมนุษย์ที่ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของการพัฒนาประเทศให้เสื่อมทรามลงไปอย่างต่อเนื่องยาวนาน หากได้ทำการศึกษาวิจัยอย่างรอบด้านจะเป็นความสูญเสียครั้งใหญ่หลวงจำนวนมูลค่ามหาศาลซึ่งมีสาเหตุโดยตรงจากการปฏิบัติหน้าที่ที่ผิดพลาดและผิดกฎหมายของกสทช/ สำนักงาน กสทช.  

            ๘.        ขัดต่อนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา

คำแถลงนโยบายด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมของคณะรัฐมนตรี โดยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันอังคารที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ในส่วนของนโยบายศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม มีดังต่อไปนี้

นโยบายศาสนา ศิลปะ และ วัฒนธรรม

๑) เร่งดำเนินการให้ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมมีบทบาทนำในการร่วมเทิดทูนสถาบันหลัก ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และร่วมสร้างประเทศไทยให้เป็นประเทศที่อยู่สบาย โดยน้อมนำพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานให้แก่รัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดินด้วยการทำงานตั้งใจให้ประเทศเป็นที่อยู่ที่สบายในโลกที่มีความวุ่นวาย และน้อมนำพระราชดำรัสในพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครศรีอยุธยา การรักษาวัฒนธรรม คือ การรักษาชาติ มาหล่อหลอมและยึดเหนี่ยวจิตใจเป็นหนึ่งเดียวเพื่อเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ให้กับคนในชาติ

๒) อุปถัมภ์ คุ้มครอง และทำนุบำรุงศาสนา ส่งเสริมการปรับปรุงองค์กรและกลไกที่รับผิดชอบด้านศาสนาเพื่อให้การบริหารจัดการ ส่งเสริมทำนุบำรุงศาสนา มีความเป็นเอกภาพและประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมความเข้าใจอันดีและสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนาเพื่อนำหลักธรรมของศาสนามาใช้ในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนใช้หลักธรรมในการดำรงชีวิตมากขึ้น

            กสทช. มีหน้าที่ตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๗๔ แห่ง พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งบัญญัติไว้ว่า

ในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ กสทช. ต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อรัฐสภา

          ประกาศฉบับนี้ของ กสทช. จึงเป็นประกาศที่ขัดต่อนโยบายทางด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมของรัฐบาลอย่างชัดเจน เพราะประกาศฉบับดังกล่าวไม่เพียงไม่ได้ส่งเสริมการทะนุบำรุงศาสนา แต่กลับ    ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงทั้งภาครัฐและภาคประชาชน    ในการเผยแผ่พุทธศาสนาอีกด้วย

 

                    ข้าพเจ้าและกลุ่มนักวิชาการเพื่อการทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา จึงขอร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้โปรดพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายโดยเร็ว เพื่อใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือตักเตือน กสทช. / สำนักงาน กสทช. ให้เร่งทบทวนประกาศฉบับดังกล่าวที่กำลังเป็นสาเหตุหลักส่งผลทำร้ายชาติและชนในชาติให้เสื่อมทรามลงไปจากศีลธรรมคุณธรรมในพระพุทธศาสนา ข้าพเจ้าและกลุ่มฯ มิได้ต้องการใช้กฎหมายเพื่อเล่นงานหรือทำร้าย กสทช. / สำนักงาน กสทช. ให้ได้รับโทษความผิด แต่ต้องการให้ทบทวนและหามาตรการรองรับบรรดาวิทยุเพื่อพระพุทธศาสนาทุกกลุ่ม ให้ได้รับการคุ้มครอง สนับสนุน และได้รับใบอนุญาตในการประกอบกิจการโดยเร็ว เพื่อให้ธรรมะที่เผยแผ่ทางสื่อวิทยุเป็นประโยชน์สูงสุดอย่างทั่วถึงแก่ประชาชนในระดับชาติและท้องถิ่น หาก กสทช. / สำนักงาน กสทช. ปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับกฎหมายทุกฉบับที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว เพื่อสร้างสังคมให้มีแต่ความร่มเย็นและสันติสุขอย่างแท้จริง เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติอย่างมั่นคงและยั่งยืน ข้าพเจ้าและกลุ่มฯ ก็ขออนุโมทนายินดีกับ กสทช. / สำนักงาน กสทช. เป็นอย่างยิ่ง แต่ถ้าหาก กสทช. / สำนักงาน กสทช. ดื้อรั้นไม่ฟังเสียงประชาชน ไม่ฟังเสียงข้าพเจ้าและกลุ่มฯ ซึ่งย่อมจะส่งผลกระทบกระเทือนเป็นมหันตภัยมหันตโทษร้ายแรงต่อประชาชนและสถาบันหลักของชาติให้เสื่อมทรามและคลอนแคลนลงไปในที่สุดเช่นนี้ ข้าพเจ้าและกลุ่มฯ ก็มีความจำเป็นที่ต้องขอความอนุเคราะห์จากท่านผู้ตรวจการแผ่นดินให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างรุนแรงที่สุด โทษฐานที่จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อกฎหมายอันส่งผลเป็นการทำร้ายชาติและคนในชาติอย่างโหดร้ายที่สุดให้ระงับดับไป

 

 

 

ขอแสดงความนับถือ

 

 

                                              (ดร.ดาราวรรณ  เด่นอุดม)

ครูภูมิปัญญาไทย ด้านปรัชญา ศาสนาและประเพณี

อดีตศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา ๑๑

ในนามกลุ่มนักวิชาการเพื่อการทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา

 

๒. พระครูสิริสุตวราภรณ์   (พระมหาประกอบ ธมฺมชีโว)   ด้านบาลีและพระพุทธศาสนา

๓. พระอาจารย์ทวี  กตปุญโญ   อดีตศึกษานิเทศก์ และรองศาสตราจารย์ ด้านสถิติและคอมพิวเตอร์  

๔. ศาสตราจารย์ ดร.รัตนา   ศิริพานิช         นักวิชาการด้านจิตวิทยาการศึกษา 

๕. ศาสตราจารย์ ดรบุปผา  โตภาคงาม      นักวิชาการด้านเกษตรศาสตร์

๖. รศ.นพ.วิฑูรย์  ประเสริฐเจริญสุข             นักวิชาการด้านการแพทย์

๗. นายแพทย์กิจเกษม  ทิพยานุรักษ์สกุล          ด้านการแพทย์และการศึกษา

๘. รองศาสตราจารย์สุเมธ แก่นมณี             นักวิชาการด้านวิทยาการจัดการ

๙. อุบาสิกาศรีวิรัตน์ รื่นจินดา                    ด้านรัฐประศาสนศาสตร์       

๑๐. รองศาสตราจารย์นิตยา ตรีนันทวัน        ด้านคณิตศาสตร์      

๑๑. อาจารย์สุนทร ตรีนันทวัน                    นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์   

๑๒. รองศาสตราจารย์ทัศนีย์ ศิริปโชติ          ด้านสังคมศาสตร์      

๑๓. อาจารย์อุบลศรี เสนาะรักษ์                 นักวิชาการด้านมนุษยศาสตร์

๑๔. ผศ. ดร.วิไลลักษณ์ ศิริพรอดุลศิลป์        นักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์

๑๕. ผศ.จิตตรี จิตต์ปรัชญา                       นักวิชาการด้านการศึกษา            

๑๖. ผศ.ดร.ศรินทิพย์  รักษาสัตย์                นักวิชาการด้านการศึกษา       

๑๗. อาจารย์เครือวัลย์ เสนพงศ์                  ด้านการศึกษา

๑๘. อาจารย์รวีวรรณ  ภูวัชร์วรานนท์          ด้านการศึกษา

๑๙. ดร.วินัย             ศิริกุล                     นักวิชาการด้านวนศาสตร์

๒๐. อาจารย์จรรยา    ศิริกุล                     นักวิชาการด้านภาษาศาสตร์    

๒๑. อาจารย์เดวิด โรเจอร์                         อาจารย์ผู้อบรมพระธรรมทูต 

๒๒. รศ.ดร.อาภรณ์ เชื้อประไพศิลป์            ด้านพระพุทธศาสนา

๒๓. อาจารย์อุทัยรัศมี  สกุลคู                    ด้านพระพุทธศาสนา

๒๔. อาจารย์จรัสศิริ  จินดากุล        อาจารย์กลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี    

                                            สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๑

๒๕.อาจารย์มณฑา สนามแจง      ตำแหน่งครูชำนาญการพิเศษ

                                            สาขาพระพุทธศาสนา

๒๖. ผศ.ทับทิม สุริยะสุภาพงศ์         อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มข.

๒๗. ผศ.ณิชา สอนสุข                   อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มข.

๒๘. รศ.สุวดี โฆษิตบวรชัย             อาจารย์คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มข.

๒๙. อาจารย์สุดา สังขวาสี               อาจารย์สอนพระพุทธศาสนา

 

๓๐ - ๕๖. คณาจารย์หลากหลายสาขาวิชา จากสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน


·                    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภานุวัฒน์ จิระกรานนท์

·                    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จิดาภา เนติบัณฑิต

·                    อาจารย์สมร พึ่งฉิ่ง

·                    อาจารย์คัมธิกา เนินลพ

·                    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงเดือน แข็งขัน

·                    อาจารย์ชมเกียรติ เขมานันต์

·                    ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัญชิรา เศรษฐลัทธิ์

·                    ผู้ช่วยศาสตราจารย์วัฒนารี ทวิวรดิลก

·                    อาจารย์มะลิ สมหมาย

·                    อาจารย์เพ็ญศิริ ศีลอุตตมะบูชา

·                    อาจารย์ชญานิน ภู่เจริญ

·                    อาจารย์สุขรัชต์ดา วงษาสุข

·                    อาจารย์น้อมพร เสน่ห์ธรรมะศิริ

·                    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิริกุล ว่องวิจิตรศิลป์

·                    อาจารย์ทัศพร สุวรรณปักษ์

·                    รองศาสตราจารย์วรรณ สุติวิจิตร

·                    อาจารย์สมจิตร์ เฉลิมสุวิวัฒนาการ

·                    อาจารย์สุนีย์ ทองสิริประภา

·                    อาจารย์สุดาวรรณ ยอดรัก

·                    อาจารย์พรรตนฤน เพชรวิวรรธน์

·                    ผู้ช่วยศาสตราจารย์อรุณี นาคเสน

·                    อาจารย์คณิตตา ปันติ

·                    อาจารย์โสมจิระ จารุประสาน

·                    อาจารย์พจมาลย์ ขันแก้ว

·                    อาจารย์สุมนา วรวงษ์

·                    อาจารย์นุสสรี คันธิก

·                    ผู้ช่วยศาสตราจารย์อรพินท์  อินทรหะ

·                    ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรทิพย์ แก้วบุญเรือง

·                    อาจารย์วิภาดา พิณประเสริฐ

·                    อาจารย์อุไร นำบัณฑิต 

 

นักวิชาการผู้ประสงค์เข้าร่วมสนับสนุนการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาที่ได้ส่งรายชื่อมาทาง email

ผศ.ดร. ฟ้ารุ่ง มีอุดร        อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มข.